ทัพอากาศไทย ส่ง F-16 ลาดตระเวน ชายแดนไทย-พม่า

กองทัพอากาศไทย (Royal Thai Air Force: RTAF) เผยแพร่ภาพเครื่องบินขับไล่แบบ Lockheed Martin F-16 AM/BM Block 15 eMLU Fighting Falcon ขณะปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ และภาคพื้น กรณีความไม่สงบตามแนวชายแดนไทย-พม่า

โดยทำการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ติดตามความร้อนแบบ Raytheon AIM-9 Sidewinder ซึ่งมีพิสัยการยิงไกลสุด 35.4 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 2.5 มัค (คาดแถบเหลือง-น้ำตาล แสดงให้เห็นว่าเป็นลูกจริง ไม่ใช่ลูกที่ติดซ้อม) และกระเปาะชี้เป้า/ ลาดตระเวนแบบ Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pods (Sniper ATP Pods) ซึ่งให้ภาพความละเอียดสูง เพื่อการชี้เป้าหมายความแม่นยำสูง ใช้ในภารกิจข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวน (ISR: Intelligence, Surveillance, and Reconnaissance) รวมไปถึงการตรวจจับ, พิสูจน์ทราบ, ติดตามเป้าอัตโนมัติ และเลเซอร์ชี้เป้าหมายทางยุทธวิธีขนาดเล็กที่ระยะไกล อีกทั้งยังสนับสนุนการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีด้วย Laser/ ดาวเทียม GPS ทุกแบบต่อเป้าหมายประจำที่ และเป้าหมายเคลื่อนที่หลายเป้าแก่นักบิน

อนึ่ง F-16 AM/BM Block 15 eMLU ของกองทัพอากาศไทย ที่ได้รับการอัพเกรดปรับปรุงทั้ง 18 ลำนั้น

– ได้รับการติดตั้งเรดาร์แบบ Northrop Grumman AN/APG-68(V)9 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจจับข้าศึกได้ไกลกว่าเดิมถึง 2 เท่า มีระยะการตรวจจับไกลสุด 296.32 กิโลเมตร และมีระบบสร้างภาพภาคพื้นดินความละเอียดสูง (Synthetic Aperture Radar: SAR) สามารถ Scan เป้าหมายภาคพื้นด้วยความละเอียดสูงกว่าเดิมมาก ช่วยให้นักบินสามารถระบุ และยืนยันเป้าหมายได้จากระยะไกล
– มีระบบพิสูจน์ฝ่าย BAE Systems AN/APX-113 Combined Interrogator and Transponder ซึ่งระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบใหม่ Advanced Identification Friend or Foe: AIFF จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการบินจากการระบุฝ่ายของอากาศยาน และเป็นการป้องกันการยิงอากาศยานฝ่ายเดียวกัน
– มีระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบ Terma AN/ALQ-213 Electronic Warfare Management System ซึ่งเป็นระบบการจัดการสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ สามารถปล่อยเป้าลวงจรวดนำวิถีด้วยความร้อน และรบกวนการตรวจจับด้วยเรดาร์ ของข้าศึกแบบอัตโนมัติได้ จึงเป็นการลดภารกรรมของนักบินในขณะเข้าไปทำลายเป้าหมาย และเพิ่มโอกาสความอยู่รอดในพื้นที่การรบอีกด้วย
– มีระบบเป้าลวงแบบ BAE Systems AN/ALE-47 Airborne Countermeasures Dispenser System
– มีการออกแบบ และเปลี่ยนระบบแสดงผลของห้องนักบิน
– มีการเปลี่ยนคันบังคับนักบิน
– มีการติดตั้ง ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธีแบบ Link 16 ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบ Air Command and Control System หรือ ACCS ของกองทัพอากาศไทย ซึ่งระบบ Tactical Data Link แบบ Link-16 จะแบ่งปันข้อมูลของอากาศยานฝ่ายเดียวกันของทุกหมู่บิน ตลอดจนหน่วยรบทุกเหล่าทัพที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้ อันจะทำให้ทุกคนมีความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ขณะทำการรบสูงสุด และทำให้การฝึกรบร่วมกับนานาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
– มีหมวกบินติดศูนย์เล็งแบบ Boeing Joint Helmet-Mounted Cueing System (JHMCS) เพื่อแสดงข้อมูลการบิน และการใช้อาวุธ
– มีกระเปาะชี้เป้าแบบ Lockheed Martin Sinper ATP Pods
– รองรับการใช้งานจรวดอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ AIM-120C7 AMRAAM ระยะยิงไกลสุด 150 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุด 4+ มัค
– รองรับการใช้งานจรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้อินฟราเรดแบบ Diehl IRIS-T (infrared imaging system tail/thrust vector-controlled) หรือ AIM-2000
– รองรับการใช้งานระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ รวมไปถึงระเบิดนำวิถีด้วยดาวเทียมอย่าง Joint Direct Attack Munition (JDAM)

กองทัพอากาศยังคงเตรียมความพร้อมเสมอ สำหรับภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อปกป้องอธิปไตย และพี่น้องประชาชนชาวไทย

เหตุในภาพไม่ติดตั้งลูกยาว BVR อย่าง Raytheon AIM-120 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile (AMRAAM) เนื่องจากการประเมินภัยคุกคาม กับภารกิจลาดตระเวนแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องติดลูกยาวอย่าง AMRAAM ออกไปให้หนักเครื่อง สิ้นเปลืองโครงสร้าง แถมติดไป โอกาสใช้งานจริงก็น้อยมาก พม่ารู้อยู่แล้วว่าเรามีอะไร คงไม่มาเปิดศึกกับเราแบบดื้อ ๆ ในตอนนี้หรอก ดังนั้นแค่ AIM-9 กับกระเปาะชี้เป้าลาดตระเวน ก็เพียงพอกับภารกิจลาดตระเวนแล้ว

Credit : กองทัพอากาศไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: ห้าม Copy เนื้อหาและรูปภาพ By มติรัฐ