สมุทรสาคร – จัดประชุมขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเฝ้าระวัง-ป้องกันฯฝุ่น PM2.5 เพื่อลดผลกระทบฯ ประจำปี 68

วันที่ 9 ธ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลากลางจ.สมุทรสาคคร ได้จัดการประชุมขับเคลื่อนกลไก การมีส่วนร่วมเฝ้าระวังป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ จากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยนายนริศ นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้มอบหมายให้ นายแพทย์ประกิจ สาระเทพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะประธานฯ หัวหน้าชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ จากฝุ่นละออง PM 2.5 ทั้งนี้เพื่อการประชุมขับเคลื่อนกลไกการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ประจำปี พ.ศ.2568 โดยมี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ และผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯสมุทรสาคร พร้อมด้วย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด, ศึกษาธิการจังหวัด ,สนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดฯ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี พร้อมโรงพยาบาลรัฐและเอกชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่ง ร่วมประชุมเพื่อการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก    

โดยสนง.ปภ.จ.สมุทรสาคร รายงานว่า สำหรับมาตรการดำเนินการมีข้อสรุปในสาระสำคัญของการประชุม มีดังนี้ (1.) สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พบค่าฝุ่น PM2.5 สูงเกินมาตรฐาน ในช่วงวันที่ 1 ต.ค. – 9 ธ.ค. 67 ที่สถานีสถานีวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติบริเวณหมวดทางหลวงพุทธมณฑล ตำบลอ้อมน้อย จำนวน 14 วัน  และสถานีสถานีวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติบริเวณโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ริมถนนพระราม 2 ตำบลมหาชัย จำนวน 29 วัน และกรมควบคุมมลพิษอยู่ระหว่างพิจารณาย้ายสถานีวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ ทั้ง 2 สถานี เพื่อความเหมาะสมต่อไป

(2.) สถานการณ์ผู้ป่วยโรคที่อาจเกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 และค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 จังหวัดสมุทรสาคร ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 พฤศจิกายน 2567 ยังไม่สัมพันธ์กันเนื่องจากยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย ส่วนจำนวนผู้ป่วยทางเดินหายใจนั้นมีแนวโน้มสัมพันธ์กับการเกิดสถานการณ์ PM2.5 และ (3.) มีแนวทางดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข รับผิดชอบชุดปฏิบัติการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้โดยได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการ 6 แผน แบ่งออกเป็น
– ด้านป้องกันและลดผลกระทบมีกำหนด (4 แผน) คือ 1. ประชาสัมพันธ์เชิงรุก, 2. ควบคุมราคาสินค้า, 3.ระบบเฝ้าระวัง/แจ้งเตือนในสถานศึกษาและชุมชน และ 4 การดูแลประชาชนในกลุ่มเสี่ยงกลุ่มเปราะบาง

– ด้านลดผลกระทบ (2 แผน) คือ 5. จัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยให้มีหน่วยบริการตรวจสุขภาพประชาชน คลินิกมลพิษเคลื่อนที่ และคลินิก online และ 6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ PHEOC
ที่ประชุมรับทราบและมีมติเห็นชอบแผน และจะเสนอแผนฯ ดังกล่าวต่อศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดสมุทรสาคร ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 ต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “ล่าสุดในการนี้โดยทางด้าน นายวีระศักดิ์ โรจนาศรีรัตน์ ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ได้มอบหน้ากาก N95 จำนวน 320 ชิ้น และหน้ากากอนามัย จำนวน 500 ชิ้น ให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อพิจารณาใช้ในการลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร”

มานพ ข่าวมหาชัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: ห้าม Copy เนื้อหาและรูปภาพ By มติรัฐ