วันที่ 15 พ.ค.2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีฯได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำแพร่ระบาด พ.ศ.2567–2570 โดยกรมประมง สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมมี “การยางแห่งประเทศไทย” ร่วมให้การสนับสนุนด้านการรับซื้อ-ขาย และกรมพัฒนาที่ดิน เข้าร่วมโครงการรับซื้อปลาหมอคางดำจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและแหล่งน้ำทั่วไป ก่อนนำเอาไปผลิตน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อหวังควบคุมวงจรและตัดตอนประชากรปลาชนิดนี้ด้วยการรับซื้อ เพื่อการใช้ประโยชน์กันอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาของการแพร่ระบาด



นายเผดิม รอดอินทร์ สนง.ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เผยว่า สำหรับในกิจกรรมนี้ซึ่งเป็นเขตพื้นที่มีปัญหาของการแพร่ระบาด โดยเบื้องต้นจะซื้อปลาหมอคางดำทั้งที่จับได้จากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ ราคากิโลกรัมละ 20 บาท (รวมค่าขนส่ง-ค่าใช้จ่ายฯ) ซึ่งในส่วนของสมุทรสาครนี้ได้รับอนุมัติการดำเนินกิจกรรมการรับซื้อปลาที่ถูกกำจัดออกจากแหล่งน้ำทุกแห่งในถิ่นที่พบการแพร่ระบาด ตามโครงการควบคุมและกำจัดประชากรปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดโดยมีการจัดสรรโควต้าการรับซื้อหมอคางดำจากกรมประมง จำนวน 750,000 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 15 ล้านบาท จากงบประมาณการไว้ทั้งหมด 97 ล้านบาทเศษ ใน 19 จังหวัด อย่างไรก็ตามการรับซื้อครั้งนี้มีจำแนกเป็น เกษตรกรขายได้ 15 บาท/กิโลกรัม, แพผู้รวบรวม จะได้ 5 บาท/กิโลกรัม โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการภายใน 30 กันยายน 2568 นี้
โดยวันนี้ถือว่า เป็นวันดีเดย์นี้และเป็นเริ่มแรกของโครงการฯในล็อตใหม่ โดยดำเนินการแล้วนับตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 68 โดยมีชาวประมงเรืออวนรุนที่ได้รับอนุญาตให้จับปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติด้วย ได้แก่ ที่ท่าเทียบเรือของแพปลาของ ดร.วิชาญฯ โดยมีสำนักงานประมงฯสมุทรสาคร ผู้คุมดูแลนำโดย นายควบเผดิม รอดอินทร์ หน.ประมงจังหวัดฯ ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 15 ตัน จากบ่อผู้เพาะเลี้ยง และเกษตรกร เป็นต้น
ในการนี้ทางสำนักงานประมงสมุทรสาครยังได้จัดให้มีการลงนามในหนังสือสั่งซื้อปลาหมอคางดำร่วมกับแพ (รวมทั้งสิ้น 10 แพ) ปรากฏว่า ตั้งเป้าน้ำหนักทั้งหมด 750,000 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 15 ล้านบาท ด้านเกษตรกรขายได้ 15 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ด้านแพปลาผู้รวบรวม จะได้ 5 บาท/กิโล) โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการภายในวันที่ 30 ก.ย. ปีนี้
มานพ ข่าวมหาชัย
พื้นที่โฆษณา
