สวัสดี ปีใหม่ วันสงกรานต์ ร่วมสืบสาน วัฒนธรรม ตามวิสัย ไปทำบุญ รวมญาติ สานสัมพันธ์ เป็นแบบอย่าง คนไทย ที่ดีงาม จงเล่นน้ำ ปะแป้ง แต่พองาม ตามจรรยา แบบอย่าง ควรสืบสาน ปีงูเล็ก ปีนี้ คิดทำงาน กิจการ รุ่งเรือง ทุกท่านเทอญฯ
Category Archives: วันสำคัญ
ต้นยางพาราถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรก ช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2425 ซึ่งช่วงเวลานั้น ได้มีการขยายเมล็ดพันธุ์ต้นยางพาราเพื่อนำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย และใน ปี พ.ศ.2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) “บิดาแห่งยางพาราไทย” เป็นผู้ที่ได้นำต้นยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี จึงได้มีการส่งนักเรียนให้ไปศึกษาวิธีการปลูกยางพาราเพื่อนำความรู้กลับมาช่วยสอนชาวบ้านให้รู้ถึงวิธีการปลูกยางพารา ซึ่งนักเรียนที่ท่านได้ส่งไปศึกษาวิธีการปลูกยางพาราล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็ได้สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้นำพันธุ์ต้นยางพาราไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในช่วงเวลานั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็น “ยุคตื่นยาง” และชาวบ้านได้เรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาชาวบ้านได้มีการนำเข้ายางพารามาปลูกเป็นสวนยางพารามากขึ้น และได้มีการขยายพื้นที่การปลูกยางพาราไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย จนถึงปัจจุบันประเทศไทยได้มีพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วทั้งประเทศประมาณ 12 ล้านไร่ โดยกระจายกันอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางพาราพื้นที่ใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมของยางพาราในประเทศไทยได้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา จนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางพาราได้มากที่สุดในโลก ซึ่งความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ได้เดินทางไปดูงานในประเทศมาเลเซีย ได้เห็นชาวมลายูปลูกยางพารากันได้ผลดี จึงเกิดความสนใจที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยางพาราในสมัยนั้นได้มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของสวนยางพารา ทำให้ไม่สามารถนำพันธุ์ยางพารากลับมาได้ในการเดินทางครั้งนั้น […]
กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้ ผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบิน ไว้เพื่อป้องกันภัย ที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง “แผนกการบิน” ขึ้นในกองทัพบก พร้อมทั้งได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศฝรั่งเศส อันได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ทั้ง 3 ท่านนี้ ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ นาวาอากาศเอก […]
ย่างมะโรงโหมเชิดในปีนี้ สิ่งดีดีจงบังเกิดมาเถิดหนา จงอวยชัยมงคลนำพัดมา สู่ประชาพี่น้องทุกผองเทอญ ขึ้นดิถีปีใหม่ไทยในครั้งนี้ ขอเป็นปีที่รุ่งเรืองดั่งหงส์เหินพุ่งทะยานดั่งมังกรเหยียบเมฆเพลิง สงกรานต์เดินทางท่องจงปลอดภัยฯ
รากศัพท์ที่มาของคำว่า Halloween นั้น เพี้ยนมาจากคำว่า All Hallows Eve คือ คืนก่อนวัน All Hallows Day หรือ All Saint’s Day (วันที่ 1 พฤศจิกายน) ซึ่งเป็นวันที่เหล่าคริสตศาสนิกชนจะมาปฏิบัติศาสนกิจเพื่อระลึกถึงนักบุญต่างๆ แต่มาเกี่ยวกับเรื่องผีๆ สางๆ ได้ยังไงล่ะ? คาดว่าน่าจะมาจากตำนานที่มีมากว่า 2,000 ปีครับ จากความเชื่อของชาวเซลติก (ชนพื้นเมืองตอนเหนือของยุโรป) ระบุเอาไว้ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็น เทศกาลบูชาเทพเจ้าแห่งความตาย ก่อนจะเข้าสู่ฤดูหนาว โดยจะนำเหล้า และอาหารออกมาวางนอกบ้าน เพื่อให้เทพเจ้าแห่งความตายได้ดื่มกิน แต่บ้างก็ว่า วันที่ 31 ตุลาคม เป็น วันปล่อยผี (คงคล้ายๆ กับวันทำบุญเดือนสิบของไทย) ในวันปล่อยผีนี้เหล่าวิญญาณจะกลับมายังโลก เพื่อเข้าสิงร่างของคนที่มีชีวิตอยู่ ชาวบ้านที่กลัวว่าจะถูกวิญญาณเข้าสิงก็จะทำการดับเตาไฟในบ้าน เพื่อบ้านจะได้หนาวเย็น วิญญาณจะได้ไม่อยากเข้ามา และต่อจากนั้น ก็จะออกไปรวมตัวกันก่อกองไฟเพื่อให้วิญญาณกลัว นอกจากนี้ยังแต่งตัวให้เหมือนผี เดินขบวนส่งเสียงร้องไปรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อให้วิญญาณเข้าใจผิดว่าเป็นพวกเดียวกัน ถ้าพูดถึงฮาโลวีนแล้ว สัญลักษณ์ที่ลอยเข้ามาในห้วงความคิดของทุกคน นอกจากการแต่งแฟนซีเป็นผีแล้ว ฟักทอง ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ติดอันดับ โลโก้ประจำเทศกาล ฟักทองนี้ก็มีที่มาจากสิ่งที่เรียกว่า Jack O’Lantern นั่นเอง จริงๆ Jack นั้น มาจากชื่อของชายขี้เมาชาวไอริช […]
วันคล้ายวันราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี ,วันพยาบาลแห่งชาติ ,วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ,วันทันตสาธารณสุข ,วันปลูกต้นไม้แห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นกษัตริย์ผู้เปิดประตูสู่อารยประเทศ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา ทรงผนวชและได้รับสมณนามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “วชิรญาโณ” แปลว่า “ผู้มีญาณแข็งแกร่งประดุจดังเพชร” พระองค์ทรงดำรงในสมณเพศอยู่นานถึง 26 ปี ภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2394 พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์ให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2394 มีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชสมัยของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ […]
วันที่ 17 ตุลาคมตรงกับวันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีการโอนกรมตำรวจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2541 อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม เดิมทีวันที่ 13 ตุลาคมนั้นเป็นวันตำรวจไทย แต่เพื่อร่วมแสดงความเคารพเทิดทูนต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระองค์ ดังนั้น พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงวันตำรวจไทยไปเป็นวันที่ 17 ตุลาคม อุดมคติของตำรวจที่ดี ในแต่ละภารกิจของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์นำมาซึ่งความเสียสละแรงกายเพื่อปกป้องประชาชนให้สงบสุขจนเกิดความรู้สึกย่อท้อ เพื่อเป็นการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีแรงรักษาหน้าที่ต่อไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมอบหมาย อุดมคติของตำรวจไทย ที่ควรมีไว้เพื่อบ้านเมือง 9 ประการ ดังนี้ • เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ • กรุณาปราณีต่อประชาชน • อดทนต่อความเจ็บใจ • ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก • ไม่มักมากในลาภผล • มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน • ดำรงตนในยุติธรรม • กระทำการด้วยปัญญา • รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต […]
นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อครั้งดำรงพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย คณะแพทย์จึงทำการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิต แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย พระอาการไม่คงที่ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงไปอีก มีการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระอาการประชวรได้ทรุดหนักลงตามลำดับ และสวรรคตเมื่อเวลา 15.52 น. รวมพระชนมายุ 88 พรรษา ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปยังพระบรมมหาราชวัง มีพระราชพิธีถวายสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา มีการเชิญพระบรมศพลงสู่พระหีบ ประดิษฐานหลังพระแท่นแว่นฟ้าทอง ประกอบพระโกศทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา 30 วัน และให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่รัฐไว้ทุกข์ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 14 […]
วันที่ 29 มิถุนายน “วันบริพัตร” จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- 1
- 2