ศูนย์รวมใจของชาวบ้านจังหวัดสระแก้ว ศรัทธาและนับถือผูกโยงกับประเพณีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมามากกว่า 48 ปี เจ้าพ่อมีนามเดิมว่า “หลวงเดชาศิริ” อดีตเป็นนายด่านรักษาการณ์อยู่ชายแดนเขตนี้ เป็นผู้มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว เป็นที่เคารพของบุคคลทั่วไป มีสหายคู่ใจ นายเสือกับนายสิงห์ปัจจุบันเจ้าพ่อเสืออยู่ที่แควหนุมาน และเจ้าพ่อสิงห์อยู่จังหวัดจันทบุรี เมื่อมีผู้มาอธิษฐานขอพรแล้วประสบความสำเร็จสมความปรารถนาจึง มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธา มีผู้คนมากราบไหว้และมาแก้บนทุกๆวันไม่ขาดสาย ศาลเจ้าพ่อพระปรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำอย่างยาวนานตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร หมายเลข 33 สุดเขตอำเภอกบินทร์บุรี องค์ท่านมีอำนาจเด็ดขาด มีผู้คนทุกระดับกราบไหว้สักการบูชา บนบานศาลกล่าว มักจะได้สมความปรารถนา ศาลเดิมตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของถนนสุวรรณศรสายเก่า ปัจจุบันยังมีหลักฐานอยู่ เมื่อปี พ.ศ.2497 หลวงบูรกรรมโกวิท ได้ทำนุบำรุงศาลเก่าขึ้นมา ซึ่งศาลเก่าได้ชำรุดไปแล้ว คงเหลือแต่รูป ติดก้อนศิลายังอยู่ ต่อมามีความเจริญมากขึ้นมีการตัดถนนสุวรรณศร สายใหม่เมื่อ พ.ศ.2513 มีท่านผู้มีจิตศรัทธาจากจังหวัดจันทบุรี ซื้อที่ดินจำนวน 1 งาน เพื่อสร้างศาลทางทิศใต้ถนนสู่วรรณศร ชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนาและจัดงานประเพณีประจำปีเพื่อเป็นการสักการะบูชา ได้เรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาในองค์ท่านมาร่วมงานทุกปี เนื่องจากที่ตั้งศาลเก่ามีบริเวณไม่เพียงพอกับจัดพิธีการดำเนินงานต่าง 1 ซึ่งในอนาคตประชาชนให้ความเคารพ และศรัทธาในองค์เจ้าพ่อพระปรงมากขึ้น คณะกรรมการดำเนินงานจึงได้ประชุมหารือ เพื่อจัดหาสถานที่ก่อสร้างให้เหมาะสมต่อไป และได้รับความกรุณาจากท่านประธานและคณะกรรมการมูลนิธิสัจจะพุทธธรรม (แห่งประเทศไทย ทางอำเอกบินทร์บุรีประกอบพิธีบูชาอัญเชิญท่านโป๊ยเขียนโจวฮือ มาชี้สถานที่ก่อสร้างใหม่ใด้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิพุทธสมาคมพุทธสิหิงค์จังหวัดฮลบรี ได้เรียนแบบกรมศิลป์ในการก่อสร้างอาคารศาลให้สง่างาม ทางกรมโยธาธิการจังหวัดปราจีนบุรีสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร จึงได้ประกอบวางศิลาฤกษ์และได้ดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับการสนับสนุนความร่วมมือจากฝ่ายราชการ […]
Category Archives: มนต์ขลัง
“ เขาพนมเพลิง ” ตั้งอยู่ในเขต อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย บนเขาพนมเพลิงเป็นที่ตั้งของ “วัดเขาพนมเพลิง” สร้างมาตั้งแต่ตอนสร้างเมือง “ศรีสัชนาลัย” เขาพนมเพลิงปรากฏในพงศาวดารเหนือตอนที่เกี่ยวกับการสร้างเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) โดยกำหนดให้เขาพนมเพลิงอยู่กลางเมืองและได้สร้างวัดไว้บนเขาพนมเพลิง จากประวัติในพงศาวดารดังกล่าวหมายถึง เคยมีการใช้เขาพนมเพลิงเป็นแหล่งประกอบพิธีบำเพ็ญพรต แล้วจุดอัคคีบูชาเทวะเป็นเจ้า โดยกำหนดให้วัดเขาพนมเพลิงเป็นชัยภูมิของการสร้างเมืองให้โดดเด่นนั่นคือเป็นการสร้างเมืองศรีสัชนาลัยที่โอบล้อมภูเขานี้ไว้ใจกลางเมือง เพื่อให้เป็นชัยภูมิอันเหมาะสมยิ่งในการประกอบพิธีดังกล่าว พระร่วงยืนปางประทานพร เนื้อชินเงิน พิมพ์เล็ก กรุวัดเขาพนมเพลิง องค์ที่นำมาจัดแสดงนี้ ความสูงของพระ สูง 4 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เป็นพระสภาพเดิมๆ องค์นี้คราบปรอทเดิม พุทธคุณความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณเชื่อว่า มีคุณทางเจริญด้วยโชคลาภ มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทอง ปกป้องคุ้มครองให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขและคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ เป็นพระอีกหนึ่งพิมพ์ในกรุนี้ที่มีความงดงาม มีเส้นสายลายลักษณ์แฝงไปด้วยพลังความเข้มขลัง สมกับความเป็นพระเนื้อชิน เนื้อพระมีปริ ระเบิดบ้างตามธรรมชาติของพระเนื้อชิน มีร่องรอยสนิม และการจับตัวของโลหะที่เป็นมาแต่เดิมในกรุ ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาเก๊ – แท้ พุทธศิลป์สกุลช่างสุโขทัย เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสกุลช่างที่มีความอ่อนช้อย งดงามในการสร้างสรรค์งานศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธปฏิมา พระพิมพ์ พระเครื่องต่างๆ กรุเขาพนมเพลิง เป็นกรุที่ค้นพบพระเครื่องที่มีจำนวนมากพอสมควรกรุหนึ่งในจังหวัดสุโขทัย สนนราคาค่านิยมในปัจจุบันยังพอจับต้องได้ในพระบางพิมพ์ ซึ่งพระกรุนี้คู่ควรแก่การอนุรักษ์สะสมยิ่งนัก Credit : ภาพ ศูนย์พระเมืองศรีสัช
เขาชนไก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นวัดร้างที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระที่แตกกรุออกมามีด้วยกันมากมายหลายพิมพ์ พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของกรุนี้ได้แก่ พระขุนแผน และพระขุนแผนสะกดทัพ พระทั้งหมดทำด้วยเนื้อตะกั่ว สนิมแดงเข้มมาก จัดได้ว่าพระกรุนี้ มีพุทธคุณไม่แพ้พระกรุของเมืองอื่นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรีเลยทีเดียว ปริมาณที่แตกกรุออกมามีมากพอสมควรปัจจุบันยังพอมีหมุนเวียนแลกเปลี่ยนในหมู่นักนิยมสะสมและยังหาดูได้ไม่ยากนัก สนนราคาค่านิยมยังพอจับต้องได้ ด้านพุทธคุณนั้นเด่นทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ดังเช่นพระเครื่องแห่งเมืองนักรบทั่วไป Credit : ภาพ เพชร พศิษฐ์
พระพิมพ์มเหศวร ได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม เดิมชื่อนายฮะอี้ หรือ อี้ นามสกุล กรรณสูต เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏมีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระพุทธรูปและเครื่องทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทอง ซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 1 ทรงมีศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร – ปิยะทัสสีสารีบุตร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้างพระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา ซึ่งพระยาสุนทรบุรี ยังได้นำพระครื่องส่วนหนึ่งขึ้น ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเก้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประภาสอนุสรณ์ดอนเจดีย์ซึ่งเป็นระยะเวลาเดียวกันนั้น พระพิมพ์มเหศวร เป็นพระเครื่องศิลปะอู่ทอง นับเป็นพระพิมพ์ที่สำคัญและได้รับความนิยมสูงสุด เป็นสุดยอดพระกรุเมืองสุพรรณ หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี พระยอดขุนพลเนื้อชิน ยอดเยี่ยมด้านคงกะพันชาตรี “พระมเหศวร” จัดได้ว่าเป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุแห่งนี้ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง เนื้อหามวลสาร พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินเงิน หรือ […]
วัดบันไดหิน ตั้งอยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟลพบุรี ถนนรอบวัดพระธาตุ อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี สร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช สิ่งก่อสร้างในวัดมีวิหาร ซึ่งเหลือแต่ผนังเพียงสองด้าน มีประตูหน้าต่างวงโค้งแหลมคล้ายกลีบบัว ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมที่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้ว มีการขุดพบกรุพระศิลปะ ลพบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อชินเงิน โดยมากเป็นพระหลวงพ่อจุก ฐานเตี้ย – พระนาคปรก, พระแผงตรีกาย สันนิษฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2475 หากกล่าวถึงสุดยอดพระนาคปรกแห่งเมืองลพบุรี ซึ่งบรรดาผู้นิยมสะสมพระเครื่องให้ความสำคัญเป็นเบอร์ต้นๆ 3 อันดับ ทั้งความหายาก พุทธศิลป์ และพุทธคุณ ต้องยกให้ พระนาคปรก กรุวัดปืน ,พระนาคปรกกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ,พระนาคปรก กรุวัดบันไดหิน ที่มีพุทธลักษณะองค์พระค่อนข้างเพรียวชะลูดประทับนั่งบนบัลลังก์นาคฐานสูง ซึ่งหากนำพระนาคปรกทั้ง 3 กรุมาวางเปรียบเทียบกันจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเลยทีเดียว แม้พุทธศิลป์จะด้อยกว่าพระนาคปรกของสองกรุแรก พระนาคปรกกรุวัดบันไดหิน ขุดพบที่บริเวณวิหารหรืออุโบสถของวัดบันไดหิน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟลพบุรี ทำให้สันนิษฐานกันว่า แต่เดิมวัดบันไดหินน่าจะ ต้องอยู่ในปริมณฑลเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง พระพิมพ์ที่พบมีมายมากหลายพิมพ์ทรง […]
จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเมืองที่พบกรุพระมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของไทย และพระเครื่องกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี นี้ถือว่าเป็นกรุพระที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศในกรุเดียวกันนี้มีพระเครื่องที่อยู่ในชุดเบญจภาคีถึง 2 ชนิด 2 แบบด้วยกัน คือพระพิมพ์มเหศวร ซึ่งเป็นชุดเบญจภาคีในชุดยอดขุนพลเนื้อชิน และพระผงสุพรรณ ซึ่งเป็นชุดเบญจภาคีในชุดเนื้อดิน ด้านพระพุทธคุณเป็นที่เชื่อถือกันมาแต่โบราณ พระองค์นี้เป็นพระพิมพ์ลีลาอกเล็ก ที่มีศิลปะสวยงาม ในหมวดพระพิมพ์ลีลาอกเล็ก ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เป็นพระเนื้อชินเงิน ดูง่ายตามแบบอย่างพระเนื้อชินเงินของกรุนี้ ธรรมชาติความเป็นพระแท้เบสิคครบถ้วน เพียงขาดความสวยสมบูรณ์ไปนิดเนื่องจากถูกเลี่ยมแบบเปิดหน้า – ใช้มาแต่อดีต สภาพโดยรวมกำลังน่ารักไม่หักไม่ซ่อม มีเพียงการเทไม่ติดที่บริเวณใกล้กับแขนขวาแต่ไม่โดนแขน เป็นมาแต่เดิมในกรุ เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่น่าใช้มากท่านนอนมาด้วยกันกับ พระผงสุพรรณ และพระมเหศวร เนื้อหาจึงเหมือนกับพระมเหศวร ไม่ผิดเพี้ยนบอกได้ว่าพระทุกพิมพ์ของกรุนี้ มีพุทธคุณเหมือนกันซึ่งเรียกได้ว่าเป็นที่สุดในทุกด้าน นรสิงห์ พันตา
เหรียญโป๊ยข่วย ยันต์แปดทิศ เนื้องาแกะ หายากมากกว่าเนื้อโลหะ เหรียญยันต์แปดทิศหรือโป๊ยข่วย เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดี คุ้มครองอันตราย แก้ไขอุปสรรคด้านการค้า พลิกดวงชาตาจากร้ายให้เป็นดีได้ นำมาพกติดตัวจะช่วยปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย (หยิน-หยาง) ซึมซับพลังงานที่ดี ปลดปล่อยพลังงานไม่ดีออกสู่ร่างกาย เน้นส่วนดี แก้ส่วนเสีย ทำให้สุขภาพแข็งแรง และนิยมนำมาแก้ฮวงจุ้ย สรรพคุณเหรียญยันต์แปดทิศมีเยอะ แต่ปัจจุบันจะหาผู้สร้างที่ทำได้ถูกต้องตามตำราให้ขลังแบบคนสมัยก่อนยากมาก เหรียญงาแกะรุ่นนี้เชื่อว่าสร้างที่วัดทิพย์วารี ใกล้ๆวัดเล่งเน่ยยี่ เป็นเหรียญที่หาชมายากมาก ส่วนใหญ่จะตกอยู่ภายใต้การครอบครองของคหบดีย่านสำเพ็ง เหรียญเนื้อเงิน โป๊ยข่วย ยันต์แปดทิศ เป็นเหรียญที่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างกันในระหว่างปี พ.ศ. 2460 ถึง 2470 เศษ Credit : Ajboy PhySciswu
พระร่วงนั่ง เนื้อชินเงิน กรุวัดบรมธาตุกำแพงเพชร ด้านข้างมีรอยสับสิ่วทำให้ดูง่ายสบายตา ฟอร์มพองาม เนื้อพระแข็งแกร่งแต่ดูหนึกนุ่ม คราบกรุเดิมๆยังอยู่ ไม่มีอุดซ่อม พระพิมพ์นี้คนรุ่นเก่าเชื่อถือในพุทธคุณด้านเมตตาค้าขาย จะทำการใดก็ไร้อุปสรรคหรือจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเสมอ ชีวิตเจริญรุ่งเรืองโชคดี Credit : Ajboy PhySciswu
พระพิจิตร กรุป้อมวังบูรพา กทม. พบเจอหมุนเวียนในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องน้อยมากเพราะขึ้นกรุไม่มาก อายุความเก่าหลายร้อยปี สร้างสมัยตั้งแต่ต้นรัตนะโกสินทร์ พระมีขนาดเล็กจิ๋ว พระพิจิตร ถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์สำคัญอยู่ที่พิมพ์ทรงที่มีขนาดเล็กมาก เรียกได้ว่าพระส่วนใหญ่ที่พบเห็น ถ้าบังเอิญทำหล่นอาจจะหาไม่พบก็ได้ แต่ด้านพุทธคุณล้ำเลิศเอามากๆ ทั้งแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีฉมังนัก พระพิจิตร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีการค้นพบพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากมายหลายพิมพ์ อาทิ พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระพิจิตรหน้าวัง พระพิจิตรพิมพ์นาคปรก พระพิจิตรผงดำ เป็นต้น พระพิจิตรหน้าวัง เป็นพระพิจิตรอีกแบบหนึ่งที่นิยมในวงการ มีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมป่องข้าง มีองค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย มีขอบสูงรอบองค์พระ พบมากเป็นเนื้อชินเงิน บริเวณที่พบคือ รอบวังโบราณ ในตัวเมืองเก่าพิจิตร เลยเรียกกันต่อๆ มาว่า พระพิจิตรหน้าวัง ต่อมายังพบพระพิมพ์นี้อีก ที่กรุวัดมหาธาตุ และพบพระพิมพ์นี้อีกที่ป้อมมหาไชย หน้าวังบูรพา อยู่ตรงหัวมุมถนนเยาวราช ปัจจุบันป้อมนี้ถูกรื้อไปเเล้ว แต่เป็นพระเนื้อดิน ในวงการพระเรียกว่า พระพิจิตรป้อม จัดเป็นพระที่หายากเพราะขึ้นจากกรุจำนวนน้อยไม่พอหมุนเวียนในวงการ Credit : Ta chokchai
“ต้นดอกรัก” เป็นไม้ประดับอีกชนิดนึงที่ชื่อว่าให้คุณทางด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยมในทางไสยศาสตร์ แต่โบราณห้ามปลูกไว้ในบ้าน เชื่อว่าอาจทำให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นในบ้านได้ คนโบราณจึงมักห้ามปลูกในบริเวณบ้าน แต่สามารถปลูกไว้ในบริเวณไกลตัวบ้านได้ โดยมากรักชนิด ที่นำมาใช้ให้เกิดคุณด้านเสน่ห์นั้นมักใช้ “รักซ้อน” ซึ่งมีดอกขาวแกมเขียว กลีบซ้อนกันเป็นชั้นๆ นิยมนำดอกรักซ้อนมาทำมวลสารผสมผงวิเศษ เช่น ผงนะอกแตก ผงอิทธิเจ ผงเสน่ห์ เป็นต้น – ส่วน “รากรักซ้อน” นิยมนำมาใช้ แกะเป็นรูปพระภควัม แล้วเจาะก้น นำเครื่องสรรพยาบรรจุในก้นพระที่เจาะรูแล้วแช่น้ำมันจันทร์ปลุกเสกจนพระภควัมลุกขึ้นนั่งได้ ใช้อมไป สกดผู้คนและกำบังกายหายตัวได้ ส่วนใบรักซ้อนนิยมนำมาลงเลขยันต์ทำเสน่ห์แบบต่างๆ ส่วนยอดก้อมักนำมาบดผสมลงในผงวิเศษ ชนิดต่างๆแม้แต่การทำมวลสารสร้างพระก้อนิยมเช่นกัน – ส่วน “รักลา” ชนิดที่ดอกมีสีม่วงจะกลีบดอกซ้อนหรือไม่ซ้อนก้อตามในสมัยโบราณ ถือว่าอัปมงคลไม่นิยมใช้ทำด้านเสน่ห์ต่างๆ บางที่เรียกต้นรักดอกสีม่วงนี้ว่า ต้นธุดง โบราณใช้ดอกรักลาในงานอวมงคลต่างๆ แต่ไม่นิยมในงานมงคล – ส่วน “กาฝากรัก” ที่ทำให้เกิดฤทธิ์ด้านเสน่ห์นั้น ใช้กาฝากจากต้นรักซ้อน หรือต้นรักใหญ่ ที่มียางดำ จึงจะนำนกสฝากมาใช้ทำ กาจับหลักหรือ สาลิกาลิ้นทอง ให้เกิดผลด้านเสน่ห์มหานิยมได้ ในยุคก่อนต้นรักซ้อนนั้นหาไม่ยากมีเจออยู่ตามธรรมชาติ มากมายแต่ในยุคนั้นได้นิยมนำรากรักซ้อนมาแกะทำเครื่องรางของขลังเสียมากสมัยนี้จึงเหลือรักซ้อนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติน้อยมากๆ แต่ในอินเดียเขาเรียกต้นรักว่า “อะรัก” ซึ่งคนละความหมายกับที่คนไทยนิยมเรียกกัน […]