ศูนย์รวมใจของชาวบ้านจังหวัดสระแก้ว ศรัทธาและนับถือผูกโยงกับประเพณีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมามากกว่า 48 ปี เจ้าพ่อมีนามเดิมว่า “หลวงเดชาศิริ” อดีตเป็นนายด่านรักษาการณ์อยู่ชายแดนเขตนี้ เป็นผู้มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว เป็นที่เคารพของบุคคลทั่วไป มีสหายคู่ใจ นายเสือกับนายสิงห์ปัจจุบันเจ้าพ่อเสืออยู่ที่แควหนุมาน และเจ้าพ่อสิงห์อยู่จังหวัดจันทบุรี เมื่อมีผู้มาอธิษฐานขอพรแล้วประสบความสำเร็จสมความปรารถนาจึง มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธา มีผู้คนมากราบไหว้และมาแก้บนทุกๆวันไม่ขาดสาย ศาลเจ้าพ่อพระปรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำอย่างยาวนานตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร หมายเลข 33 สุดเขตอำเภอกบินทร์บุรี องค์ท่านมีอำนาจเด็ดขาด มีผู้คนทุกระดับกราบไหว้สักการบูชา บนบานศาลกล่าว มักจะได้สมความปรารถนา ศาลเดิมตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของถนนสุวรรณศรสายเก่า ปัจจุบันยังมีหลักฐานอยู่ เมื่อปี พ.ศ.2497 หลวงบูรกรรมโกวิท ได้ทำนุบำรุงศาลเก่าขึ้นมา ซึ่งศาลเก่าได้ชำรุดไปแล้ว คงเหลือแต่รูป ติดก้อนศิลายังอยู่ ต่อมามีความเจริญมากขึ้นมีการตัดถนนสุวรรณศร สายใหม่เมื่อ พ.ศ.2513 มีท่านผู้มีจิตศรัทธาจากจังหวัดจันทบุรี ซื้อที่ดินจำนวน 1 งาน เพื่อสร้างศาลทางทิศใต้ถนนสู่วรรณศร ชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนาและจัดงานประเพณีประจำปีเพื่อเป็นการสักการะบูชา ได้เรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาในองค์ท่านมาร่วมงานทุกปี เนื่องจากที่ตั้งศาลเก่ามีบริเวณไม่เพียงพอกับจัดพิธีการดำเนินงานต่าง 1 ซึ่งในอนาคตประชาชนให้ความเคารพ และศรัทธาในองค์เจ้าพ่อพระปรงมากขึ้น คณะกรรมการดำเนินงานจึงได้ประชุมหารือ เพื่อจัดหาสถานที่ก่อสร้างให้เหมาะสมต่อไป และได้รับความกรุณาจากท่านประธานและคณะกรรมการมูลนิธิสัจจะพุทธธรรม (แห่งประเทศไทย ทางอำเอกบินทร์บุรีประกอบพิธีบูชาอัญเชิญท่านโป๊ยเขียนโจวฮือ มาชี้สถานที่ก่อสร้างใหม่ใด้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิพุทธสมาคมพุทธสิหิงค์จังหวัดฮลบรี ได้เรียนแบบกรมศิลป์ในการก่อสร้างอาคารศาลให้สง่างาม ทางกรมโยธาธิการจังหวัดปราจีนบุรีสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร จึงได้ประกอบวางศิลาฤกษ์และได้ดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับการสนับสนุนความร่วมมือจากฝ่ายราชการ […]
Category Archives: เทพเจ้าและความเชื่อ
“ต้นดอกรัก” เป็นไม้ประดับอีกชนิดนึงที่ชื่อว่าให้คุณทางด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยมในทางไสยศาสตร์ แต่โบราณห้ามปลูกไว้ในบ้าน เชื่อว่าอาจทำให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นในบ้านได้ คนโบราณจึงมักห้ามปลูกในบริเวณบ้าน แต่สามารถปลูกไว้ในบริเวณไกลตัวบ้านได้ โดยมากรักชนิด ที่นำมาใช้ให้เกิดคุณด้านเสน่ห์นั้นมักใช้ “รักซ้อน” ซึ่งมีดอกขาวแกมเขียว กลีบซ้อนกันเป็นชั้นๆ นิยมนำดอกรักซ้อนมาทำมวลสารผสมผงวิเศษ เช่น ผงนะอกแตก ผงอิทธิเจ ผงเสน่ห์ เป็นต้น – ส่วน “รากรักซ้อน” นิยมนำมาใช้ แกะเป็นรูปพระภควัม แล้วเจาะก้น นำเครื่องสรรพยาบรรจุในก้นพระที่เจาะรูแล้วแช่น้ำมันจันทร์ปลุกเสกจนพระภควัมลุกขึ้นนั่งได้ ใช้อมไป สกดผู้คนและกำบังกายหายตัวได้ ส่วนใบรักซ้อนนิยมนำมาลงเลขยันต์ทำเสน่ห์แบบต่างๆ ส่วนยอดก้อมักนำมาบดผสมลงในผงวิเศษ ชนิดต่างๆแม้แต่การทำมวลสารสร้างพระก้อนิยมเช่นกัน – ส่วน “รักลา” ชนิดที่ดอกมีสีม่วงจะกลีบดอกซ้อนหรือไม่ซ้อนก้อตามในสมัยโบราณ ถือว่าอัปมงคลไม่นิยมใช้ทำด้านเสน่ห์ต่างๆ บางที่เรียกต้นรักดอกสีม่วงนี้ว่า ต้นธุดง โบราณใช้ดอกรักลาในงานอวมงคลต่างๆ แต่ไม่นิยมในงานมงคล – ส่วน “กาฝากรัก” ที่ทำให้เกิดฤทธิ์ด้านเสน่ห์นั้น ใช้กาฝากจากต้นรักซ้อน หรือต้นรักใหญ่ ที่มียางดำ จึงจะนำนกสฝากมาใช้ทำ กาจับหลักหรือ สาลิกาลิ้นทอง ให้เกิดผลด้านเสน่ห์มหานิยมได้ ในยุคก่อนต้นรักซ้อนนั้นหาไม่ยากมีเจออยู่ตามธรรมชาติ มากมายแต่ในยุคนั้นได้นิยมนำรากรักซ้อนมาแกะทำเครื่องรางของขลังเสียมากสมัยนี้จึงเหลือรักซ้อนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติน้อยมากๆ แต่ในอินเดียเขาเรียกต้นรักว่า “อะรัก” ซึ่งคนละความหมายกับที่คนไทยนิยมเรียกกัน […]
ตามธรรมชาติ ของม้านั้นจะชอบวิ่งบนพื้นหญ้า หรือพื้นดิน แต่เมื่อคนจับม้ามาฝึกไว้ใช้งานจึงต้องหารองเท้าให้ม้าใส่ จะได้วิ่งไปได้ทุกที่ ที่โดนบังคับให้ไปเพราะกีบเท้าม้าไม่สามารถจะทนทานต่อ ถนนที่แข็ง กีบเท้าม้าจะได้รับบาดเจ็บ คนจึงหาวิธีแก้ไขด้วยการตอกเกือกม้าที่เป็นเหล็กติดกับเท้าม้าเพื่อแก้ปัญหาการบาดเจ็บของม้า หลายครั้งที่เรามักได้ยินเรื่องราวของเกือกม้ากันมา ซึ่งหากย้อนกลับไปในสมัยโบราณกาลหรือสมัยที่ยังคงต้องใช้ม้าในการคมนาคมขนส่งการค้าขาย หรือแม้แต่การรบ การแข่งขันทางกีฬา หรืออื่นๆแน่นอนว่าม้าได้กลายเป็นสัตว์พาหนะหลักไปโดยปริยาย การนำเกือกม้ามาติดไว้ที่ประตูถือว่าเป็นเครื่องรางป้องกันสิ่งชั่วร้ายในวัฒนธรรมบางแห่ง ในหลายวัฒนธรรมความเชื่อ ถือว่าเกือกม้าเป็นเครื่องรางนำโชค รูปร่าง การสร้าง ตำแหน่งการวางและวิธีการได้มา ถือว่าสำคัญทั้งสิ้นประเพณีทั่วไปถือว่าถ้าแขวนเกือกม้าไว้ที่ประตู โดยปลายง่ามสองข้างชี้ขึ้น จะเป็นสิ่งนำโชคดีมาให้ ถ้าชี้ลง มันจะนำโชคร้ายมาให้ ประเพณีในหลายที่เชื่อแตกต่างจากนี้ ในบางแห่งเชื่อว่า ให้แขวนเกือกม้าให้ปลายสองข้างชี้ลง เพื่อมันจะได้เทโชคให้คุณในบางที่เชื่อว่า ต้องชี้ขึ้นเพื่อโชคมันจะได้ไม่ตกหล่นลงมาในบางวัฒนธรรมเชื่อว่าไม่ว่าจะแขวนชี้ขึ้นหรือลงก็ไม่สำคัญตราบใดที่เกือกม้าต้องเป็นอันที่เคยใช้ใส่ให้ม้ามาแล้วไม่ใช่อันที่สร้างเสร็จใหม่ๆ หรือเป็นเกือกม้าที่พบตกหล่นไม่ใช่อันที่ไปซื้อมา ซึ่งในวัฒนธรรมแทบทุกแห่ง ถือว่าโชคดีอยู่ในตัวเกือกม้าและมันจะเทออกมาให้คุณได้ทางปลาย ตำนานเกี่ยวกับที่มาของความเชื่อเรื่องเกือกม้านำโชคที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคือเรืองเล่าเกี่ยวกับนักบุญดังสตันกับปีศาจ (Saint Dunstan and the Devil) นักบุญผู้นี้ท่านเป็นช่างเหล็ก ใส่เกือกม้าที่มีฝีมือมาก เรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง ปีศาจได้ปลอมตัวมาขอให้ท่านใส่เกือกม้าให้ เพราะมันมีเท้าเป็นเท้าม้าท่านสามารถล่วงรู้ได้ว่านี่คือปีศาจจำแรงมา ท่านจึงตอกเกือกม้าลงบนกีบเท้าทำให้ปีศาจเกิดความเจ็บปวดอย่างมาก (บางเรื่องบอกว่านักบุญจับมันตอกหรือมัดไว้กับฝาผนัง) ปีศาจได้รับความเจ็บปวดทรมานอย่างหนัก มันร้องขอให้ช่วย ท่านดังสตันจึงให้มันสัญญาว่า จะไม่เข้าไปในสถานที่ใดๆ ก็ตามที่มีเกือกม้าแขวนอยู่ที่ประตู ปีศาจให้สัญญาและท่านก็ถอดเกือกม้าอันเจ็บปวดให้แก่มันท่านนักบุญดังสตันได้เป็นอาร์คบิช็อปแห่ง Canterbury ฝรั่งบางท้องถิ่นเชื่อกันว่าบรรดาแม่มดทั้งหลายนั้นกลัวเกือกม้าจึงต้องเดินทางด้วยการขี่ไม้กวาดหรือแปลงร่างเป็นอีกา เป็นนกฮูก […]
ต้นพญาท้าวเอว พญาค้ำเอว ขบเขี้ยวหรือ สลักเขี้ยว เป็นไม้ป่าของไทย เป็นไม้ที่คนโบราณถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มีดีอยู่ในตัว พญาท้าวเอวเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย คือ