ตามธรรมชาติ ของม้านั้นจะชอบวิ่งบนพื้นหญ้า หรือพื้นดิน แต่เมื่อคนจับม้ามาฝึกไว้ใช้งานจึงต้องหารองเท้าให้ม้าใส่ จะได้วิ่งไปได้ทุกที่ ที่โดนบังคับให้ไปเพราะกีบเท้าม้าไม่สามารถจะทนทานต่อ ถนนที่แข็ง กีบเท้าม้าจะได้รับบาดเจ็บ คนจึงหาวิธีแก้ไขด้วยการตอกเกือกม้าที่เป็นเหล็กติดกับเท้าม้าเพื่อแก้ปัญหาการบาดเจ็บของม้า หลายครั้งที่เรามักได้ยินเรื่องราวของเกือกม้ากันมา ซึ่งหากย้อนกลับไปในสมัยโบราณกาลหรือสมัยที่ยังคงต้องใช้ม้าในการคมนาคมขนส่งการค้าขาย หรือแม้แต่การรบ การแข่งขันทางกีฬา หรืออื่นๆแน่นอนว่าม้าได้กลายเป็นสัตว์พาหนะหลักไปโดยปริยาย
การนำเกือกม้ามาติดไว้ที่ประตูถือว่าเป็นเครื่องรางป้องกันสิ่งชั่วร้ายในวัฒนธรรมบางแห่ง ในหลายวัฒนธรรมความเชื่อ ถือว่าเกือกม้าเป็นเครื่องรางนำโชค รูปร่าง การสร้าง ตำแหน่งการวางและวิธีการได้มา ถือว่าสำคัญทั้งสิ้นประเพณีทั่วไปถือว่าถ้าแขวนเกือกม้าไว้ที่ประตู โดยปลายง่ามสองข้างชี้ขึ้น จะเป็นสิ่งนำโชคดีมาให้ ถ้าชี้ลง มันจะนำโชคร้ายมาให้ ประเพณีในหลายที่เชื่อแตกต่างจากนี้ ในบางแห่งเชื่อว่า ให้แขวนเกือกม้าให้ปลายสองข้างชี้ลง เพื่อมันจะได้เทโชคให้คุณในบางที่เชื่อว่า ต้องชี้ขึ้นเพื่อโชคมันจะได้ไม่ตกหล่นลงมาในบางวัฒนธรรมเชื่อว่าไม่ว่าจะแขวนชี้ขึ้นหรือลงก็ไม่สำคัญตราบใดที่เกือกม้าต้องเป็นอันที่เคยใช้ใส่ให้ม้ามาแล้วไม่ใช่อันที่สร้างเสร็จใหม่ๆ หรือเป็นเกือกม้าที่พบตกหล่นไม่ใช่อันที่ไปซื้อมา ซึ่งในวัฒนธรรมแทบทุกแห่ง ถือว่าโชคดีอยู่ในตัวเกือกม้าและมันจะเทออกมาให้คุณได้ทางปลาย
ตำนานเกี่ยวกับที่มาของความเชื่อเรื่องเกือกม้านำโชคที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดคือเรืองเล่าเกี่ยวกับนักบุญดังสตันกับปีศาจ (Saint Dunstan and the Devil) นักบุญผู้นี้ท่านเป็นช่างเหล็ก ใส่เกือกม้าที่มีฝีมือมาก เรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง ปีศาจได้ปลอมตัวมาขอให้ท่านใส่เกือกม้าให้ เพราะมันมีเท้าเป็นเท้าม้าท่านสามารถล่วงรู้ได้ว่านี่คือปีศาจจำแรงมา ท่านจึงตอกเกือกม้าลงบนกีบเท้าทำให้ปีศาจเกิดความเจ็บปวดอย่างมาก (บางเรื่องบอกว่านักบุญจับมันตอกหรือมัดไว้กับฝาผนัง) ปีศาจได้รับความเจ็บปวดทรมานอย่างหนัก มันร้องขอให้ช่วย ท่านดังสตันจึงให้มันสัญญาว่า จะไม่เข้าไปในสถานที่ใดๆ ก็ตามที่มีเกือกม้าแขวนอยู่ที่ประตู ปีศาจให้สัญญาและท่านก็ถอดเกือกม้าอันเจ็บปวดให้แก่มันท่านนักบุญดังสตันได้เป็นอาร์คบิช็อปแห่ง Canterbury ฝรั่งบางท้องถิ่นเชื่อกันว่าบรรดาแม่มดทั้งหลายนั้นกลัวเกือกม้าจึงต้องเดินทางด้วยการขี่ไม้กวาดหรือแปลงร่างเป็นอีกา เป็นนกฮูก แล้วบินไปการมีเกือกม้าอยู่ติดบ้านหรือติดตัวจึงป้องกันมนต์ดำจากพวกแม่มดได้
เกือกม้าก็เปรียบเสมือนกับรองเท้าของมนุษย์เรานั่นเองเนื่องจากเกือกม้ามีไว้เพื่อครอบกีบเท้าม้าเพื่อไม่ให้รับอันตรายจากการเดินไปกระแทกกับวัตถุที่มีความแหลมคมหรือของแข็งจำพวกก้อนหินกรวดต่างๆรวมไปถึงความสามารถในการช่วยให้ม้ารับน้ำหนักได้ดีขึ้น ชาวตะวันตกมีความเชื่อเกี่ยวกับเกือกม้ามาตั้งแต่สมัยโบราณเมื่อใดก็ตามที่เกือกม้าที่ผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชน และได้เกิดหลุดร่วงไปและมีผู้ใดเก็บได้ในระหว่างทาง เชื่อกันว่า “เกือกม้านั้นจะนำพามาซึ่งความโชคดีและโชคลาภมาให้” ซึ่งนั่นจึงส่งผลให้เกือกม้าได้กลายเป็นสัญลักษณ์นำโชคที่ได้รับความนิยมมากจากทั้งในอดีตจนมาถึงปัจจุบันนอกจากนี้แล้วเกือกม้ายังเป็นสัญลักษณ์แห่งการป้องกันเวทมนตร์อันชั่วร้ายและเกือกม้าที่ใช้แล้วนั้นมีพลังอันวิเศษที่จะช่วยให้บังเกิดสุขและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนอกจากนี้ยังสามารถป้องกันภัยจากปีศาจร้ายตามตำนานที่เล่าขานกันมานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่าเป็นเกือกม้าเก่าแก่หรือเกือกม้าที่ตกหล่นอยู่บนเส้นทางกลางป่าก็จะยิ่งเชื่อกันว่าจะยิ่งมีพลังอำนาจมากยิ่งกว่าเกือกม้าใดๆอีกด้วย Lucky Horseshoe “เกือกม้า” สำหรับความเข้าใจของคนทั่วไปอาจจะคิดว่าเป็นเพียงสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกันกีบม้าไม่ให้เกิดความเสียหายเท่านั้นแต่ความสำคัญของเกือกม้าไม่ได้มีอยู่แค่นั้น เพราะเกือกม้านั้นนอกจากจะให้คุณประโยชน์สำหรับม้าที่จะต้องเอาไว้ป้องกันกีบของตนแล้วเกือกม้ายังถือว่าเป็นเครื่องรางที่นำมาซึ่ง “โชคลาภ” และ “ความมีโชค” ของผู้คอรบครองอีกด้วย
ในยุโรป ชาวเยอรมันมีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า “เกือกม้า” สามารถนำมาซึ่ง “โชคลาภ” และ “เงินทอง” หากนำมาแขวนไว้หน้าบ้านหรือเรือนที่อยู่อาศัยของตน นอกจากนั้น สำหรับชาวอังกฤษการนำเกือกม้าที่ตกอยู่ข้างทางหรือที่เจอตามป่ามาห้อยหรือแขวนไว้กับตัวก็จะยิ่งทำให้คนที่ครอบครองได้รับพลังแห่งการปกป้องคุ้มกันจากปีศาจด้วย จึงเป็นที่มาของเกือกม้าที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์นำโชคอันเป็นความเชื่อของชาวยุโรป แม้ในทวีปอเมริกาเองก็ได้นำเอาความเชื่อนี้มาไว้เช่นกันจะสังเกตเห็นได้จากการนำเอาสัญลักษณ์ของ “เกือกม้า” มาใช้ในหลายๆโอกาสเช่นการนำเป็นเครื่องรางใช้กับ “หัวเข็มขัด” ของตนหรือการนำไปแขวนหน้าบ้านของตนก็เช่นกัน
ในส่วนความเชื่อของชาวเอเชียนั้นเชื่อกันว่า นักรบแห่งทุ่งหญ้าผู้พิชิตไปไกลถึงกรุงโรมนามว่า “กุบไลข่าน” ก็เชื่อถือและนับถือพลังอำนาจอันลี้ลับของ “เกือกม้า” ยิ่งนักเพราะด้วยกองทัพม้าอันทรงพลังของพระองค์ทำให้พระองค์สามารถครอบครองอาณาจักรแห่งทุ่งหญ้าอันไพศาลและแผ่นดินจีนเลยไปจนถึงทวีปยุโรปด้วยชาวจีนในสมัยโบราณจึงถือว่า “เกือกม้า” เป็นสัญลักษณ์แห่งความร่ำรวยและโชคลาภผู้ใดได้ครอบครองหรือเป็นเจ้าของ นอกจากจะช่วยปกป้องจากภูตผีปีศาจแล้วยังจะช่วยอำนวยความร่ำรวยให้อีกด้วย ก่อนหน้านี้ช่างตีเหล็กต่างเชื่อมั่นในความมีพลังและทรงอำนาจของเกือกม้าเพราะมันถูกสร้างขึ้นจากการหลอมเหล็กและใช้ไฟแรงในการสร้าง ซึ่งนั่นก็คือการใช้ “ธาตุเหล็กและธาตุไฟ”รวมกันขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง
ยิ่งไปกว่านั้น จะต้องยึดเกือกม้าด้วยตะปู 7 ตัว ซึ่งก็คือเลขมงคลแห่งความโชคดีของชาวตะวันตกและในความเชื่อบางวัฒนธรรมยังเชื่ออีกว่า เกือกม้าที่ผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชนจนเป็นสนิมและไม่เคยหลุดออกจากเท้าม้า แสดงให้เห็นถึงการป้องกันม้าได้ตลอดรอดฝั่งย่อมปกป้องพร้อมกับเก็บตวงความโชคดีให้แก่ผู้ที่ครอบครองได้ และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ที่แฝงด้วยพลังอำนาจอันลี้ลับสามารถขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้โดยเชื่อกันว่าเกือกม้านั้นจะนำพามาซึ่งความโชคดีและนำโชคลาภมาให้ เนื่องจากเกือกม้าถูกสร้างขึ้นเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตรีเทวี อันเป็นที่เคารพนับถือในอารยะธรรมโบราณและยังพ้องกับความเชื่ออีกว่าพระจันทร์เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และแฝงด้วยพลังอำนาจแห่งความลี้ลับสามารถขับไล่ปีศาจแม่มดและความชั่วร้ายได้
นรสิงห์ พันตา