พระพิมพ์มเหศวร เนื้อชินเงิน พิมพ์เล็ก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

พระพิมพ์มเหศวร ได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม เดิมชื่อนายฮะอี้ หรือ อี้ นามสกุล กรรณสูต เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏมีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระพุทธรูปและเครื่องทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทอง ซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 1 ทรงมีศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร – ปิยะทัสสีสารีบุตร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้างพระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา ซึ่งพระยาสุนทรบุรี ยังได้นำพระครื่องส่วนหนึ่งขึ้น ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเก้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประภาสอนุสรณ์ดอนเจดีย์ซึ่งเป็นระยะเวลาเดียวกันนั้น

พระพิมพ์มเหศวร เป็นพระเครื่องศิลปะอู่ทอง นับเป็นพระพิมพ์ที่สำคัญและได้รับความนิยมสูงสุด เป็นสุดยอดพระกรุเมืองสุพรรณ หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี พระยอดขุนพลเนื้อชิน ยอดเยี่ยมด้านคงกะพันชาตรี “พระมเหศวร” จัดได้ว่าเป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุแห่งนี้ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง เนื้อหามวลสาร พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินเงิน หรือ เนื้อชินแข็ง และยังพบพระบางองค์มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก ซึ่งเรียกว่า “เนื้อชินอ่อน” อีกด้วย ด้านพุทธคุณนั้นโดดเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน ยังความเจริญก้าวหน้าในชีวิต กล่าวได้ว่าครบเครื่องแบบครอบจักรวาลเลยทีเดียว

นรสิงห์ พันตา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: ห้าม Copy เนื้อหาและรูปภาพ By มติรัฐ