วันที่ 13 กันยายน 2565 เวลา 11.00 น. นายสัณพงศพร ผลพิทักษ์ (บรรณาธิการบริหาร) พร้อมคณะกองบรรณาธิการ นสพ.มติรัฐ และคณะภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ นำโดยท่านพลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เดินทางเข้ายื่นร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ พ.ศ….ต่อท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย โดยท่านประธานสภาฯ มอบหมายให้ท่านที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร น.พ. สุกิจ อัถโถปกรณ์ มารับเอกสารแทน ณ อาคารรัฐสภา (สัปปายะสภาสถาน) เรื่อง พ.ร.บ.คณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ พ.ศ… คณะผู้เชิญชวนเสนอกฎหมายคาดว่าจะได้รับเข้าพิจารณาในการเปิดประชุมสภาในครั้งถัดไป คณะทำงานขอขอบคุณทุกท่านที่เดินทางมาร่วมเป็นตัวแทนเสนอรายชื่อ 11,258 รายชื่อ มาจากทุกภาคส่วนและทุกภูมิภาคในประเทศไทยอย่างครบถ้วน เพื่อให้มี สภาธรรมาภิบาลแห่งชาติ และสภาธรรมาภิบาลระดับท้องถิ่นทั่วทั้งประเทศ
ภาคีเครือข่ายธรรมชาติแห่งชาติ (ภธช.) เป็นองค์กรภาคประชาชนตามรัฐธรรมนูญ มีแนวร่วมเช่น องค์กรภาครัฐ, องค์กรเอกชน, สถานศึกษา, ชมรม, สมาคม, มูลนิธิ ต่างๆ มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับการประเมินระดับสากล ในเรื่อง ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน(ค่า CPI) ของประเทศไทย ให้ดีขึ้น
2. เพื่อขยายองค์ความรู้สู่ประชาชนในเรื่องหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นแนวเดียวกัน ให้เป็นหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย คือ คุณธรรม ๔ ประการ ข้อห้าม ๕ ประการ และหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ
3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเเผยแพร่วิชาการธรรมาภิบาล ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไปยังบุคคล กลุ่มบุคคล ในสังคมทุกระดับชั้น
4. เพื่อเชิดชูเกียรติคุณ หน่วยงาน องค์กร กลุ่มบุคคล บุคคล ที่ร่วมมือสนับสนุนจัดกิจกรรม หรือ ขอรับการประเมินการเชิดชูเกียรติ ในทุกระดับ ทุกกลุ่ม และทุกประเภท ที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล
5. เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศลต่างๆ จัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนงานเพื่อสาธารณะประโยชน์ต่างๆ โดยไม่เลือกศาสนา ความเชื่อ หรือความศรัทธาใด
6. เพื่อวิจัย พัฒนา จัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือ และจัดกิจกรรมวิชาการธรรมาภิบาล ร่วมกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กร กลุ่มบุคคล ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค
7. เพื่อสร้างเครือข่ายโดยมีตัวแทนภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ เช่นวิทยากร และผู้นำธรรมาภิบาลทั้งระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ทั่วประเทศ รวมทั้งมีสถาบันวิชาการธรรมาภิบาล เพื่อช่วยกันยกระดับองค์กรธรรมาภิบาล ให้เป็นองค์กรอิสระระดับชาติ โดยบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ “สภาธรรมาภิบาล”