ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2568 เวลา 10.00 น. ณ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา Future Tales Lab (อาคาร True digital park) ถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วย ร้อยตำรวจตรี สัณฐิติ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมคณะ ได้ร่วมกันหารือกับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ และคณะ เพื่อร่วมแนวทางในความร่วมมือกรณีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแจ้งเตือนภัย พร้อมรับฟังข้อมูลการคาดการณ์ภัยพิบัติต่างๆ นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมถึงแบบจำลองต่างๆ เพื่อสำหรับดำเนินการเป็นแนวทางปฏิบัติและเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการแจ้งเตือนภัยพิบัติของประเทศเพื่อเป็นแนวทางอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
มีรายงานด้วยว่า สำหรับจากแนวคิดเรื่องความยั่งยืน For All Well-Being มุ่งสู่ความสำคัญกับเทรนด์ใหม่ๆของ MQDC จึงได้จัดตั้ง FutureTales Lab “ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา” แห่งแรกที่ก่อตั้งโดยภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักอนาคตศาสตร์ทั่วโลก และการส่งต่อข้อมูลไปสู่สาธารณะเพื่อนำไปสู่การออกแบบอนาคตที่ดีขึ้นร่วมกัน
ขณะที่แนวทางการสร้างความยั่งยืนให้กับสรรพสิ่งบนโลก (หรือFor All Well-Being) จะ ต้องมีความยืดหยุ่นรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประเทศที่เกิดปัญหาแล้วมาตามแก้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มลภาวะ ที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลก ล้วนมาจากการไม่ได้คิดป้องกันล่วงหน้า จึงเป็นเรื่องต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ สร้างองค์ความรู้เพื่อคาดการณ์อนาคตและจัดทำระบบเตือนภัยล่วงหน้าได้ เพราะบางอย่างคาดการณ์ได้ และหากป้องกันได้ก็จะช่วยลดความเสียหาย
นี่จึงเป็นที่มาของจัดตั้ง FutureTales Lab by MQDC มาทำความรู้จัก ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ผ่านมุมมองของ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) “ส่วนบทบาทของ FutureTales Lab คาดการณ์อนาคต “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” เป็นศูนย์วิจัยที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อศึกษางานวิจัยและสถานการณ์แนวโน้มในอดีตและปัจจุบัน มาวิเคราะห์คาดการณ์ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเป้าหมายการทำงาน 3 เรื่อง
1.วิจัยอนาคตศาสตร์ คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ว่าจะมีจุดเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่กระทบต่อสังคมไทย
2.Interactive Exhibition เป็นพื้นที่เปิดเรียนรู้งานวิจัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพื้นที่จัดกิจกรรม เปิดให้สาธารณะเข้ามาเรียนรู้
3. สร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาคการศึกษา ภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและสร้างอนาคตด้วยกัน
“จากการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์อนาคตนั้นต้องทำการติดตามและอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของโลก โดยมีกระบวนการศึกษาอนาคตผ่านการรวบรวมข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัล มาวิเคราะห์ คาดการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่าง Earth Pulse แพลตฟอร์มข้อมูลสำหรับติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทะเล อากาศ พื้นดิน น้ำแข็ง และสิ่งมีชีวิต โดยได้ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยและที่ปรึกษาระดับโลก ได้แก่ ARUP Foresight + Innovation จากประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
พร้อมกันนี้ยังร่วมมือกับพันธมิตรในระดับประเทศ อาทิ สถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงพันธมิตรผู้สนใจด้านอวกาศ เช่น Space Zab และ SPACETH เป็นต้น เพื่อสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูลที่น่าสนใจในหลากหลายแง่มุมกับนักอนาคตศาสตร์ทั่วโลก และระดับองค์กรต่างๆเพื่อนำไปสู่การสร้างอนาคตที่ดีขึ้นร่วมกัน
ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ยังได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอนาคตของการใช้ชีวิต โดยใช้เครื่องมือการคาดการณ์อนาคตซึ่งจะสะท้อนภาพของ 6 เรื่องหลัก ก็คือ การอยู่อาศัย การทำงาน การเรียนรู้ การใช้เวลาว่าง คมนาคมขนส่ง และความยั่งยืนของอนาคต เป็นต้น”
มานพ ข่าวมหาชัย