วันที่ 5 ก.พ.68 ที่ห้องประชุม N409 อาคารรัฐสภา นายสันต์ แซ่ตั้ง สมาขิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร เขต 2 ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎร นายอวยพร มีเพียร ที่ปรึกษาคณกรรมาธิการฯ นายบรรเลง ศรีสวัสดิ์ สมาชิกสภาเกษตรกร อำเภอท่าแซะ เขต 2 นายสุพจน์ ประเสริฐกุล ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลรับร่อ นายอนิรุท พลราม นายก อบต.สลุย นายเจริญ อาจประดิษฐ์ ผู้ช่วย สส.สันต์ แซ่ตั้ง เข้าร่วมประชุม ได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการ ฯโดยมีนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นประธานในที่ประชุม
![](https://matirathonline.com/wp-content/uploads/2025/02/1738756291657-1375x800.jpg)
![](https://matirathonline.com/wp-content/uploads/2025/02/1738756314772-1400x788.jpg)
![](https://matirathonline.com/wp-content/uploads/2025/02/1738756294645-1400x788.jpg)
นายอวยพร มีเพียร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ขอให้คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงพืชอาสินของเกษตรกร ด้วยการพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีเกษตรกรต้องการโค่นยางพาราที่หมดอายุ การกรีดน้ำยางในเขตป้าสงวนแห่งชาติ และเขตปาอนุรักษ์ เพื่อปลูกพืชทดแทน นอกจากนี้ได้ขอให้แก้ไขปัญหา ทะเบียนบ้านจากชั่วคราวเป็นทะเบียนบ้านถาวรเพื่อขอใช้ใฟฟ้า ได้ในราคาทั่วไปให้กับเกษตรกร หน่วยละ 4 บาทของบ้านทั่วไป ไม่ใช่ 8 บาทเหมือนในปัจจุบัน อีกทั้งการอนุญาตก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน สาธารณูปโภคเช่นถนน ไฟฟ้าประปาเข้าไปในพื้นที่ทำกินที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์
โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร ผู้แทน กรมป่าไม้ อุทยาน ฯ กรมที่ดิน เข้าร่วมรับฟังปัญหาและหาแนวทางร่วมกัน สรุปคือ ในพื้นที่ของคณะกรรมการจัดสรรท่ดินแห่งชาติ(คทช.) ที่ได้ออก สมุดให้เกษตกรแล้ว สามารถตัดโค่นไม้ยางพาราได้ ส่วนในพื้นที่ของ คทช.ที่รังวัดแล้วแตยังไม่มีสมุด เกษตรกรสามารถ ทำรายละเอียดแปลงเลขที่สำรวจ เอกสารต่างๆ พร้อมจำนวนไม้ยางพาราที่จะตัดโค่น ไปมอบให้กับที่ดินจังหวัดซึ่งเป็นเลขาคณะ คทช.จังหวัดฯ เพื่ออนุญาตและส่งให้กับป่าไม้จังหวัดขออนุญาตตัดโค่นไม้ยางพาราได้ สำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ให้หน่วยงานที่จะดำเนินการ ประสานกับสำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจงหวัด เพื่อขออนุญาตผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ คทช.ได้
ด้านนายอนิรุท พลราม นายก อบต.สลุย ได้นำปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 4 ต.สลุย ที่ยังไม่ได้รับสิทธิการครอบครองที่ดินหลายราย โดยประชาชนในกลุ่มนี้ได้เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ปี 2520 ต่อมาได้เกิดปัญหาพายุเกย์เมื่อปี 2532 หลังจากนั้นได้มีหน่วยงานราชการศูนย์หม่อนไหมและศูนย์วิจัยเกษตรเข้ามาดำเนินการ โดยกรมป่าไม้ได้ขีดเขตที่ดินอนญาตให้ใช้ไว้ 500 ไร่ ทำให้ทับซ้อนกับที่ดินของเกษตรกร ทำให้เกิดปัญหามาจนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จึงขอยื่นเรื่องดังกล่าวให้กับคณะกรรมาธิการฯ ได้รับทราบและหาแนวทางให้ความช่วยเหลือเกษตรกรดังกล่าว หลังจากนั้นได้นำเอกสารยื่นให้กับคณะทำงานของกรรมาธิการเพื่อเตรียมประสานน่วยงานที่เกียข้องแก้ไขปัญหาต่อไป
เอกชนะ นวนละมัย ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ชุมพร 098-9515199 รายงาน