ความจริง 195 กิโลเมตร ไทย-กัมพูชา ไม่ต้องมีการปักปันใหม่ใดๆทั้งสิ้น

ประเทศไทยและกัมพูชาได้มีการจัดทำหลักเขตแดนมีจำนวนทั้งสิ้น 73 หลักเสร็จสิ้นไปหมดแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลักเขตแดนที่ 1 ถูกจัดทำขึ้นที่ช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ แล้วจัดทำหลักเขตแดนอื่นๆตามลำดับไปใน “ทิศตะวันตก” จากช่องสะงำ จนไปสิ้นสุดหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราด ส่วน “ทิศตะวันออก” จากช่องสะงำ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นขอบหน้าผาพนมดงรักมีความยาว 195 กิโลเมตร “ไม่ต้องมีหลักเขตแดนใดๆเลย“เพราะ มีขอบหน้าผาตามธรรมชาติเป็นสันปันน้ำตามธรรมชาติ จึงไม่ต้องทำหลักเขตแดนใดๆ หลักฐานอีกชิ้นหนึ่ง ปรากฏเป็นบันทึกรายงานของ พันเอก มองกิเอร์ ประธานกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการปักปันผสมสยามกับฝรั่งเศส ชุดที่ 2 ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) ได้ยืนยันตามผลงานการสำรวจและปักปันของคณะกรรมการชุดแรกว่าขอบหน้าผาคือสันปันน้ำอย่างชัดเจนว่า “เส้นเขตแดนเดินไปตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งอยู่ที่หน้าผาเห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก”

นี่คือเหตุผลหลักในการตอบคำถามว่าทำไมคณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ 2 จึงเริ่มทำหลักเขตแดนทางบก “หมายเลข 1” ที่ ช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันตก จรดไปจนถึงจังหวัดตราดและตัวหลักเขตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปทางทิศตะวันตก โดยปล่อยทิ้งด้านทิศตะวันออกจนถึงช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี ความยาวถึง 195 กิโลเมตร ว่าไม่ต้องทำหลักเขตแดน เพราะสามารถเห็นหน้าผาเป็นเส้นเขตแดนที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากตีนภูเขาดงรัก ดังนั้นจากช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันตกถึงช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี แผ่นดินเหนือสันปันน้ำคือแผ่นดินไทยทั้งหมด ไม่ต้องมีการปักปันใหม่ใดๆทั้งสิ้นแล้ว เช่นเดียวกับหลักเขตที่ 1 ถึงหลักเขตที่ 73 คณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศส ก็ได้จัดทำเสร็จสิ้นไปหมดแล้วตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนที่สูญหายไปก็ให้จัดทำขึ้นมาทดแทนเท่านั้น รวมถึงปราสาทตามเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย อยู่หลังแนวสันปันน้ำฝั่งไทยเช่นเดียวกัน และควรจะนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของฝ่ายไทยโดยเร็ว เมื่อมีการรุกล้ำราชอาณาจักรไทยต้องผลักดันผู้รุกรานออกไปสถานเดียว

Credit : Facebook Fanpage ข่าวทหาร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: ห้าม Copy เนื้อหาและรูปภาพ By มติรัฐ