ประเภทน้ำตก ก็จะมี น้ำตกป่าละอู(น้ำตกที่สวยงามมีน้ำตลอดทั้งปี), น้ำตกผาน้ำหยด(Unseen กับม่านน้ำตกทรงร่ม 3 ชั้น) และน้ำตกแม่กระดังลา(น้ำตกที่มีพื้นที่ให้เล่นน้ำได้แบบจุใจ-กางเต็นท์ใกล้ชิดธรรมชาติได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.5 เขาพุพลู) ประเภทชมธรรมชาติ เดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ก็จะมี เขาพะเนินทุ่ง (จุดชมทะเลหมอกที่งดงามที่สุด) และบ้านกร่าง(สัตว์ป่าที่หลากหลาย ใกล้ชิดธรรมชาติ ประเภทตั้งแคมป์ กางเต็นท์ มีกิจกรรมที่หลากหลาย ก็จะมี หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ. 10 (ห้วยแม่สะเลียง)-(โป่งลึก-บางกลอย) จุดล่องแพเปียกไม้ไผ่ ชมวิถีชีวิตชุมชน ,ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จุดชมวิวเขื่อนแก่งกระจาน สะพานแขวน ล่องเรือ และเกาะพลับพลา(เกาะในหลวง) เป็นเกาะที่รัชกาลที่ 9 เคยเสด็จมาประทับ จึงมีพลับพลาทรงประทับและพระบรมรูปให้ระลึกถึงและกราบไหว้บูชา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 032 772 311, 032 772 312 Credit : เพจเฟชบุ๊ก อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
Category Archives: ท่องเที่ยว
สัมผัสประสบการณ์ธรรมชาติ ชมสัตว์ป่าท่ามกลางธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบในพื้นที่มรดกโลก “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ที่จุดชมสัตว์ป่าโป่งสลัดได อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่นี่คือที่ซึ่งเหล่ากระทิง รวมตัวกันอย่างสง่างาม ท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวชอุ่มและภูมิทัศน์ที่งดงาม มอบโอกาสพิเศษให้คุณได้ใกล้ชิดกับสัตว์ป่าที่หาดูได้ยากในบรรยากาศที่เงียบสงบและปลอดภัย มาเยี่ยมชมและเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าพร้อมกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี แล้วพบกับธรรมชาติที่ยังคงมีชีวิตชีวาและรอให้คุณมาสัมผัส! ที่มา : อุทยานแห่งชาติกุยบุรี – Kui Buri National Park
ประจวบคีรีขันธ์ ปฎิทินท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2567 พฤศจิกายน – ธันวาคม 2567 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว
วันที่ 27 มิถุนายน 2567 คณะอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชฎัฐนครศรีธรรมราช นำนักเรียน นักศึกษาและชาวบ้าน ศึกษาเส้นทางธรรมชาติ เปิดเส้นทางท่องเที่ยวป่า เพื่อการศึกษาเมืองแห่งต้นน้ำ เเละต้นไม่ใหญ ณ หมู่บ้านในหมง ม.7 ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช “เส้นทางน้ำตกปลายน้ำ” ทั้งทางราบ สลับกับทางชัน ขึ้นเขาลงเขาเป็นระยะ สุดท้าทาย เหงื่อท่วมตัว! พบกับป่าไม้ใหญ่ สูงตระหง่าน ร่มรื่น สัมผัสความสดชื่นของป่าเขียว เล่นน้ำตก “วังราง และหนานน้ำคุ้ง” ข้อมูลบริหารจัดการโดย : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สื่อมวลชนพรหมคีรี นครศรีธรรมราช ข่าวภูมิภาคนครศรีฯ
วัดถ้ำพระธาตุ ตั้งอยู่เชิงเขาเก้าชั้น ซอย 3 ม.10 ต.โคกตูม อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี ในอดีตเคยมีพระธุดงค์มาจำวัดในสถานที่แห่งนี้ และได้พิจารณาตั้งเป็นที่พักสงฆ์ ต่อมาชาวบ้านผู้มีจิศรัทธาได้ช่วยกันจัดตั้งเป็นโดยสมบูรณ์ในชื่อ วัดถ้ำพระธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2508 อาณาบริเวณของวัดอยู่ติดภูเขาบรรยากาศดี มีถ้ำสวยงามด้วยหินงอกหินย้อยดั่งอัญมณีที่ซ่อนอยู่ ถ้ำใหญ่กว้างขวางเส้นทางการเดินชมสะดวก มีไฟแสงสว่างในถ้ำ มีบันไดสำหรับเข้าชมถ้ำ และไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ถ้ำในวัดมี 2 ถ้ำ คือถ้ำใหญ่ (ถ้ำพระธาตุ) และถ้ำเล็ก (ถ้ำเงินถ้ำทอง) ชื่อว่าถ้ำก็เพราะว่าทางเข้าเล็ก ภายในกว้างพอสมควรถ้าเดินเลยถ้ำเล็กไปจะเป็นทางขึ้นสันเขาเก้าชั้น ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี เขาเก้าชั้นเป็นป่าเขาที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีป่าไผ่มากและต้นไม้หลายหลายสายพันธุ์ อีกทั้งยังมีสัตว์ป่าอีกมากมาย เช่น กระรอกนวล ,กระต่ายป่า ,อีเห็น เป็นต้น ขอเชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวชมและร่วมทำบุญที่วัด เพื่อสร้างแลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดลพบุรี ซึ่งขณะนี้ทางวัดกำลังเร่งทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะของวัดที่ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์ การเดินทางสะดวกมีป้ายบอกทางชัดเจน ขอขอบคุณเจ้าของภาพ
วนอุทยานภูแฝก หรือแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยรอยเท้าไดโนเสาร์นั้นถูกค้นพบบนพลาญหินที่เป็นทางน้ำของห้วยน้ำยัง รอยเท้าฝังอยู่ในผิวหน้าของชั้นหินทรายที่แกร่งของหมวดหินพระวิหาร ซึ่งตามลำดับชั้นหินจะวางตัวอยู่ใต้ชั้นหินของหมวดหินเสาขัว ซึ่งเป็นชั้นหินที่พบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุดของประเทศไทย จากการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทำให้ทราบว่าชั้นหินทรายในบริเวณนี้ ในอดีตมีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่าน หรือเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณหาดทรายชุ่มน้ำนี้ รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน โดยอาจโผล่พ้นน้ำ ทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่ รอยเท้านั้นจึงยังคงอยู่ในชั้นตะกอนเดิม ต่อมาชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน รอยเท้านั้นจึงปรากฏอยู่ในชั้นหินนั้น ปัจจุบัน ธรรมชาติได้ทำลายชั้นหินส่วนที่ปิดทับรอยเท้าออกไป เผยให้เห็นรอยเท้าที่ไดโนเสาร์ได้ทิ้งเอาไว้เป็นประจักษ์พยานถึงการมีตัวตนในอดีต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปกินข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการและเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์เดินทางไปสำรวจ จึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่เคยเดินท่อมๆ หากินอยู่ตามพื้นทรายชุ่มน้ำตามขอบชายบึงหรือแม่น้ำ รอยเท้าทั้งหมดเป็นรอยเท้าที่มีนิ้ว 3 นิ้ว ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ระยะก้าว 120 และ 110 เซนติเมตร จากการคำนวณช่วงก้าวและขนาดรอยเท้า เป็นไดโนเสาร์ที่เดินด้วยสองขาหลัง มีความสูงถึงสะโพกมากกว่า 2 เมตร ขนาดตัวจากหัวถึงหางยาวประมาณ 7 […]
ปรางค์บ้านปรางค์ ตั้งอยู่ บ้านปรางค์นคร หมู่ 14 ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เป็นปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 17 (ประมาณ 900 ปีมาแล้ว) เป็นปราสาท 3 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำล้อมรอบ เว้นด้านหน้าและด้านหลังเป็นทางเข้าออก ปัจจุบันยังปรากฏปราสาทประธาน (องค์กลาง) ส่วนปราสาทบริวาร (ขนาบข้างซ้าย-ขวา) พังทลายลงแล้ว ปรางค์บ้านปรางค์ตั้งอยู่ห่างจากปราสาทพิมายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 70 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง Credit : อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย Phimai Historical Park
ภาพบรรยากาศการแสดง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ในรายการ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ครั้งที่ ๒ “นาฏกรรมสุขศรี สุนทรีย์พรปีใหม่” โดยแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ และการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด สุครีพสุริโยโอรส ซึ่งมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมรับชมเป็นจำนวนมาก ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ Credit : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
กำแพงเมืองพัทลุงเขาชัยบุรี กำแพงเมืองก่ออิฐหนึ่งเดียวในจังหวัดพัทลุง หลังบูรณะเสร็จในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตั้งอยู่ที่ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เมืองพัทลุงที่เขาชัยบุรี เมืองพัทลุงได้ย้ายมาตั้งที่เขาชัยบุรีหรือเขาเมืองตั้งแต่พ.ศ. ๒๑๗๒ – พ.ศ.๒๓๑๐ ตัวเมืองตั้งอยู่ในที่ราบด้านทิศเหนือของเขาชัยบุรีและมีการสร้างกำแพงเป็นระเนียดไม้ปิดช่องเขาด้านตะวันตกระหว่างเขาเมืองกับเขาบ่อฬา แล้วทำกำแพงด้านทิศเหนือต่อจากเขาบ่อฬามาจนถึงเขาเจดีย์ จากนั้นทำกำแพงด้านทิศตะวันออกจากเขาเจดีย์ไปถึงเขาพลู และทำกำแพงปิดช่องเขาระหว่างเขาพลูกับเขาเมือง โดยใช้เขาเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นกำแพงเมืองด้านทิศใต้ รวมระยะเวลาที่เมืองพัทลุงตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลา ๑๓๘ ปี มีเจ้าเมืองปกครองตามที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุงทั้งสิ้น ๙ ท่าน Credit : สำนักงานศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา
ทุ่งบัวแดงบึงบอระเพ็ด ผลิดอกรอต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว คาดธันวาคมนี้ดอกบัวแดงจะบานเต็มพื้นที่กว่า 1 พันไร่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ชวนสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม รับลมหนาว พร้อมชมนกอพยพที่ลมหนาวพัดพามาอาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ด สำหรับทุ่งบัวแดงที่อยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่บึงบอระเพ็ดแห่งนี้ช่วงนี้กำลังผลิดอกสวยงาม ซึ่งคาดการณ์ว่าในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ดอกบัวแดงน่าจะเบ่งบานเต็มพื้นที่ 1,000 ไร่ นักท่องเที่ยวสามารถแวะเข้ามาเยี่ยมชมดอกบัวแดงได้ในช่วงนี้ ซึ่งดอกบัวแดงจะบานในช่วงเวลา 06.00 – 09.30 น. สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ 056-009717 หรือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ที่มา : ประชาสัมพันธ์ฯ สบอ.12 นครสวรรค์
- 1
- 2