กษัตริย์ ผู้สร้างพลังจิตอาสา “โครงการจิตอาสาพระราชทาน”

ความเป็นมาของจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศีรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิราเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการในพระองค์ 904 ร่วมกันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีความ สมัครสมานสามัคคีมีความสุข และประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงาน ภายนอก ทางภาครัฐ และเอกชน และให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ มีหน้าที่ควบคุมอำนวยการ และประสานงานปฏิบัติ เพื่อให้การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริเป็นไปอย่างต่อเนื่องถูกต้องตามพระราโซบาย และสมพระเกียรติ

ในระยะเริ่มแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปณิธานในการบำเพ็ญประโยชน์พื้นที่ชุมชนโดยรอบพระราชวังดุสิต เป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารรักษาพระองค์ ข้าราชบริพารในพระองค์ ร่วมกับประชาชนจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ร่วมกันดูแลและพัฒนารักษาพื้นที่จากชุมชนเล็กๆ รอบพระราชวังดุสิตขยายสู่พื้นที่โดยรวมของประเทศ ในการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

ความหมายของ “จิตอาสา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของ “จิตอาสา” ดังนี้ “จิต” เป็นคำนาม หมายถึง ใจ สิ่งที่มีหน้าที่ รู้ คิด และนึก “อาสา” เป็นคำภริยาหมายถึง เสนอตัวเข้ารับทำ ดังนั้น “จิตอาสา” จึงหมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจสมัคร ใจอิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปิติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลาร่างกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ในการทำกิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุข ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดีและเห็นน้ำตาเปลี่ยนแปลงเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย “บุญ” คือความสงบเยือกเย็น และพลังแห่งความดี อีกทั้งยังช่วยลดอัตราหรือความเป็นตัวตนของตนเอง ลงได้

ความหมายของ จิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” หมายถึงประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งใน และต่างประเทศที่สมัครใจช่วยเหลือผู้อื่นยอมเสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ และสติปัญญา ในการทำงานที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
จิตอาสาตามพระราโชบายแบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๑, จิตอาสาพัฒนา: ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ รวมทั้งการสาธารณสุข ฯลฯ แบ่งตามภารกิจงานเป็น ๘ กลุ่มงานดังนี้

จิตอาสาพัฒนาชุมชนเข้มแข็งประชามีสุขหมายถึงกลุ่มจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์อาทิ การขุดลอกคูคลองการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อย ของศาสนสถานหรือสถานที่สาธารณะการจัดเก็บผักตบชวาการปลูกต้นไม้รวมทั้งการพัฒนาโครงการต่างๆ
ที่สร้างความเป็นอยู่ของชุมชนให้เข้มแข็งประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน

จิตอาสางานประดิษฐ์ และเผยแพร่งานศิลปาชีพ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่นำความรู้ทางด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน/ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น มาเผยแพร่ และถ่ายทอดเพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป

จิตอาสาฝ่ายกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนในการจัดงานหรือกิจกรรม การแสดงและมีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจ และเผยแพร่กิจกรรมจิตอาสาฯ เช่นกิจกรรมการแสดงดนตรีบริเวณพระราชวังดุสิต การจัดงานอุ่นไอ รัก คลายความหนาว งานเถลิงศกสุขสันต์มหาสงกรานต์ตำนานไทยเป็นต้น

จิตอาสาฝ่ายแพทย์และสาธารณสุข หมายถึงกลุ่มงานจิตอาสาที่ปฏิบัติงานสนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกแก่ แพทย์ พยาบาล รวมถึงช่วย อำนวยความสะดวกด้านการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ

จิตอาสาฝ่ายทะเบียนและข้อมูล หมายถึงกลุ่มงานจิตอาสาที่ให้คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกประชาชนที่มาลงทะเบียนจิตอาสาฯ

จิตอาสาฝ่ายส่งกำลังบำรุงและสนับสนุน หมายถึงกลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุน อำนวยความสะดวกดูแลความเรียบร้อย จัดหาหรือบริการ อาหาร น้ำดื่ม ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม/จิตอาสา ที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน

จิตอาสาฝ่ายประชาสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มงานจิตอาสาที่ช่วยงานประชาสัมพันธ์ และให้บริการข้อมูลการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯ รวมถึงช่วยดูแลต้อนรับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

จิตอาสาฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร หมายถึงกลุ่มงานจิตอาสาที่สนับสนุนและช่วยอำนวยความสะดวกในการสัญจร ของประชาชนการแนะนำ เส้นทางการแจ้งอุบัติเหตุการจราจรให้เจ้าพนักงานทราบ

๒, จิตอาสาภัยพิบัติ: ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานมีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้า ตรวจ เตือนและเตรียมการรองรับภัยพิบัติทางที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรวม และการเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ ดังกล่าว เช่น อุทกภัยวาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น

๓, จิตอาสาเฉพาะกิจ: ได้แก่กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานให้มีวัตถุประสงค์ให้ปฏิบัติ ในงานพระราชทานพิธี หรือการรับเสด็จ ในโอกาสต่างๆเป็นการใช้กำลังพลจิตอาสาร่วมปฏิบัติกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก แก่ประชาชนที่มาร่วมงาน รวมทั้งการเตรียมการการเตรียมสถานที่ และการฟื้นฟูสถานที่ภายหลัง การปฏิบัติในพระราชพิธี และการเสด็จฯ นั้นๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

error: ห้าม Copy เนื้อหาและรูปภาพ By มติรัฐ