นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อครั้งดำรงพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย คณะแพทย์จึงทำการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิต แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย พระอาการไม่คงที่ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงไปอีก มีการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระอาการประชวรได้ทรุดหนักลงตามลำดับ และสวรรคตเมื่อเวลา 15.52 น. รวมพระชนมายุ 88 พรรษา ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปยังพระบรมมหาราชวัง มีพระราชพิธีถวายสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา มีการเชิญพระบรมศพลงสู่พระหีบ ประดิษฐานหลังพระแท่นแว่นฟ้าทอง ประกอบพระโกศทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา 30 วัน และให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่รัฐไว้ทุกข์ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 14 […]
Author Archives: admin
สำหรับพระรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีขนาดความสูง 7.41 เมตร หรือขนาด 4 เท่าของพระองค์จริงทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักสวนจิตรดา ถนนศรีอยุธยา หล่อด้วยโลหะสำริด ฐานพระบรมรูปตั้งอยู่บนลานรูปไข่ ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นผังแปดเหลี่ยม ตามคติพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง 8 เหลี่ยมมีแผ่นจารึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อนำพาประเทศชาติอยู่ดีมีสุข อันก่อให้เกิดความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทยที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือน Credit : กรมประชาสัมพันธ์
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อประดิษฐานบนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร Credit : เพจเฟซบุ๊ก พระลาน
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระดำเนินเปิดงาน “Weaving the Way : A Journey of Thai Silk” ณ เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม นิทรรศการที่จะพาเราเปิดประตูสู่เส้นทางพระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์ ผ้าไทยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ภายในงานยังมีการแบ่งนิทรรศการเป็น 3 ส่วน พร้อมพื้นที่ที่จัดแสดงผลงานผ้าไทยต่างๆ ของเหล่าแบรนด์ดีไซเนอร์ไทยที่นำเอา “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” มาตัดเย็บเพื่อจัดแสดงผลงานอันทรงคุณค่าของไทย ตลอดจนการนำเอาผลงานชิ้นพิเศษของดีไซเนอร์ระดับโลกมาให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงความวิจิตรในด้านการออกแบบอีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมพื้นที่นิทรรศการดังกล่าวในงาน “Weaving the Way : A Journey of Thai Silk” สามารถแวะเข้ามาเยี่ยมชมได้ที่เจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม ระหว่างวันที่ 9 – 12 ตุลาคม 2565 นี้เท่านั้น ที่มา […]
วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2565 เวลาประมาณ 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ถึงสนาม ฮ. ชั่วคราว สนามกีฬากลางจังหวัดปัตตานี พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4/นายทหารราชองครักษ์ กราบบังคมทูลถวายรายงาน นายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และคณะผู้บริหาร เฝ้าฯ รับเสด็จ จากนั้นประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จไปยังมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายประสาน ศรีเจริญ รองประธานผู้ทรงคุณวุฒิสำนักจุฬาราชมนตรี ผู้แทนจุฬาราชมนตรี ผู้แทนหน่วยงาน และประชาชนเฝ้าฯ รับเสด็จ ณ อาคารมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการทดสอบการอัญเชิญมหาคัมภีร์อัลกุรอานระดับประเทศ พร้อมกราบบังคมทูลเบิก ผู้ชนะเลิศ, รองชนะเลิศ, รางวัลชมเชย, คณะกรรมการตัดสิน และผู้ให้การสนับสนุนการจัดงานฯ เข้ารับพระราชทานรางวัล และโล่ที่ระลึก […]
ไม่กี่วันที่ผ่านมาได้เกิดเหตุคนร้ายบุกคร่าชีวิตเด็กและผู้คนเกือบ 50 ชีวิต ที่จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเรื่องที่น่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นใครย่อมรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวแม้แต่ผู้เขียนเอง ที่ได้ติดตามข่าวความน่าสลดใจดังกล่าวตลอดหลายวันที่ผ่านมา แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าเสียใจไม่แพ้กันคือ “การเผยแพร่ข้อมูลโดยขาดความรับผิดชอบ” ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุใหม่ๆ ผู้เขียนได้รับข้อมูลเหตุการณ์หลังเกิดเหตุประมาณ 40 นาที ซึ่งเป็นโพสต์ข้อความทั่วไปในเฟสบุ๊ก แต่คอมเมนต์ของโพสต์ดังกล่าวได้มีผู้คนมาคอมเมนต์”ภาพผู้เสียชีวิตโดยไม่มีการปกปิดใด ๆ” ขอย้ำว่าไม่มีการปกปิดใด ๆ จากนั้นก็เริ่มมีการนำรูปดังกล่าวไปเผยแพร่ในช่องทางอื่น ๆ อีกมากมาย จนเกิดกระแสให้งดการเผยแพร่ภาพดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรงดกระทำจริง ๆ ลองนึกภาพด้วยความคิดของตนเองดูสิครับ หากในภาพดังกล่าวเป็นคนที่เรารัก แล้วเราเห็นรูปเขาในสภาพที่ไม่ดีปรากฏในที่พื้นที่โซเชียลซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็ไม่ต่างจากการที่ถูกคนอื่นเอารูปดังกล่าวติดในพื้นที่สาธารณะรอบตัวเราให้เราได้เห็นทุกเวลา มันคงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่ากับใครก็ตาม ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นกรณีของบุคคลทั่วไปที่อาจจะไม่รู้อะไร หากตักเตือนกันแล้วไม่กระทำต่อไปก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ที่เป็นปัญหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า คือ “การปฏิบัติงานของสื่อมวลชน” ที่สื่อมวลชนบางสำนักรักษาความเสมอต้นเสมอปลายในการหาข่าวโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบจากโศกนาฏกรรม ทั้งที่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ครั้งที่ผ่าน ๆมาก็เคยทำมาแล้ว และครั้งนี้ก็ยังทำเหมือนเช่นเคย มีทั้งการไปสัมภาษณ์ญาติผู้เสียชีวิตหรือพ่อแม่ที่เสียลูกในเหตุการณ์หรือผู้ที่รอดจากเหตุการณ์ครั้งนี้ว่ารู้สึกอย่างไรกับการสูญเสีย ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่สมควรจะทำในช่วงเวลาที่โศกเศร้าเช่นนี้ สื่อมวลชนบางช่องก็ทำวิดีโอจำลองเหตุการณ์การคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ให้ประชาชนดูในช่วงเวลาที่สลดหดหู่อีก แม้ที่ผ่านมากสื่อมวลชนมักจะบอกสังคมอยู่เสมอว่า พวกเราดูแลกันเองได้ แต่เท่าที่สังคมได้รับรู้ก็มีเพียงแถลงการณ์ขอโทษที่มันไม่ได้ช่วยอะไรกับรอรับบทลงโทษจากกสทช.ที่ไม่ได้กระทบกับรายได้ของสถานีเท่าไหร่นัก อีกนานแค่ไหนที่ปัญหาพวกนี้จะได้รับการแก้ไขเสียที สุดท้าย ขอฝากวิธีการดูแลจิตใจเมื่อทราบข่าวหรือเห็นความรุนแรงจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีแนวทางดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้แข็งแรงสดใสอยู่เสมอ จัตุราคม
วันที่ 7 ตุลาคม 2565 เวลา 21.38น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเด็กชายกฤษกร เรืองเจริญ อายุ 3 ขวบ ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์กราดยิงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู และพระราชทานกระเช้าของเยี่ยมแก่บิดามารดา ณ โรงพยาบาลอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เพื่อทรงเยี่ยมและพระราชทานกำลังใจให้ผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในช่วงเวลาแห่งการสูญเสีย โดยมีประชาชนร่วมรับเสด็จฯ โดยก่อนหน้านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี พร้อม 3 องคมนตรี พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ดร.อำพน กิตติอำพน เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์กราดยิงศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดหนองบัวลำภู ณ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณารับผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ทั้งหมด ขอบคุณเครดิตภาพ จากเพจ : โบราณนานมา
เมื่อเวลา 17.24 น. วันที่ 3 ตุลาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย เฝ้าฯ ถวายพระราชสาส์นตราตั้ง และอักษรสาส์นตราตั้ง ตามลำดับดังนี้ นายเฟลมิง ราอุล ดูอาร์เต ราโมส ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เฝ้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐปารากวัยประจำประเทศไทย นายษามิร อัลอัดวาน ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เฝ้าฯ ถวายพระราชสาส์นตราตั้ง เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนประจำประเทศไทย นายอะยิส ลุยซู ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เฝ้าทูลฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐไซปรัสประจำประเทศไทย นายอัรดะชีร เกาะดีรี ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เฝ้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง เป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถานประจำประเทศไทยคนแรก นายเออร์เนสต์ อึมบาอิมบา อึนโดมาฮีนา ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงปักกิ่ง […]
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม ซึ่งมักได้รับพายุฝนติดต่อกันหลายวันในฤดูฝน ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นพื้นที่กว้างใหญ่เป็นประจําเกือบทุกปี ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเล็งเห็นถึงความเดือดร้อนและความลำบากของพสกนิกร ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษนับตั้งแต่ทรงครองราชย์ พระองค์จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ‘น้ำ’ อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำ การเก็บกัก การระบาย การควบคุม การทำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ในด้านทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตก และปริมาณน้ำฝนสูง จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และทรงคำนึงถึงการเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ตลอดจนงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ – การก่อสร้างคันกั้นน้ำ คันกั้นน้ำส่วนใหญ่สร้างด้วยดินถมบดอัดแน่น สูงพ้นระดับน้ำท่วมสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เป็นวิธีป้องกันน้ำท่วมที่นิยมทํากันมาช้านาน กรมชลประทานได้ก่อสร้างคันกันน้ำเพื่อสนองพระราชดำริ ได้แก่ คันกั้นน้ำของ โครงการมูโนะ และ โครงการปิเหล็ง จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น – การก่อสร้างทางผันน้ำ เป็นการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วม เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งให้ไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นมาใหม่ ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเล แล้วแต่กรณี – การปรับปรุงสภาพลำน้ำ เป็นวิธีการปรับปรุงและตกแต่งลำน้ำเพื่อเพิ่มความสามารถของลำน้ำ ในฤดูน้ำหลากให้น้ำไหลได้สะดวกขึ้น […]
สมเด็จพิมพ์นี้เป็นพิมพ์นิยมและหายากมากพิมพ์หนึ่งของชุดพระสมเด็จพระครูลมูล ผสมผงเก่ากรุบางขุนพรหม หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อน้อย, หลวงพ่อทองอยู่ ปลุกเสก มีประวัติการสร้างบันทึกไว้อย่างชัดเจนถือเป็นที่สุดของพิธีและมวลสาร เป็นพระอีกสำนักหนึ่งที่นักนิยมสะสมพระเครื่องน่าเช่าหาเก็บไว้บูชา พระชุดนี้มีสร้างไว้หลายพิมพ์ ซึ่งมีทั้งแบบบรรจุกรุ และไม่บรรจุกรุ เกจิร่วมปลุกเสก อาทิ – หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม – หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง – หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา – พระอาจารย์ชั้ว วัดนครชื่นชุ่ม Credit : ว.พรหมทอง