หลายคนอาจจะเคยเห็นต้นไม้ที่มีรากเป็นตะปุ่มตะป่ำ เกาะอาศัยบนกิ่งไม้ใหญ่กันมาบ้าง หรือบางคนก็อาจจะพบเจอมันเกาะอยู่บนต้นมะม่วงในบ้านและอาจพบเห็นโดยง่ายตามไม้ยืนต้นทั่วไป ตามคติความเชื่อตำนานที่เล่าขานถึงต้นกาฝากนั้น จะถือว่ากาฝากเป็นวัตถุทนสิทธิ์ชนิดหนึ่ง คือมีอาถรรพ์หรือพลังงานในตัวเอง มีความขลังศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้วโดยไม่ต้องปลุกเสก เฉกเช่นเดียวกับกะลาตาเดียว หรือ “คต” ชนิดต่าง ๆ สำหรับตำนานที่มาของกาฝากนั้น ตามสายความเชื่อหนึ่งเชื่อว่า กาฝากนั้นคือที่สถิตของเทวดาที่ทำผิดกฎของสวรรค์หรือชดใช้เศษกรรมบางอย่างตามบัญชาของสวรรค์ โดยให้มาเกิดในโลกมนุษย์ในฐานะเทพารักษ์ชนิดหนึ่งโดยสถิตบนกิ่งก้านต้นไม้ใหญ่ แทนที่จะสถิตในต้นไม้ใหญ่ จึงมาบังเกิดเป็นต้นกาฝากแทน และถือว่าต้นกาฝากนั้นคือวิมานของเทวดาเหล่านั้น ที่มาของคุณวิเศษ ของกาฝากในฐานะของเครื่องรางของขลังนั้น คาดว่าอาจเกิดจากการที่คนโบราณสังเกตว่า กาฝากสามารถเกาะและดูดกินสารอาหารจากต้นไม้ใหญ่ได้ โดยที่ตัวมันเองเจริญเติบโตขึ้นแต่ต้นไม้ใหญ่กลับทำอะไรกับเจ้ากาฝากไม่ได้เลย จึงนำสิ่งที่สังเกตเห็นมาสร้างเป็นกลอุบายทางไสยศาสตร์ สร้างเป็นเครื่องรางของขลังด้านเสน่ห์เมตามหานิยม โภคทรัพย์ เสมือนกาฝากที่คอยเกาะเกี่ยว อิงแอบผู้หลักผู้ใหญ่ ขอความเมตตาเพื่อให้ตัวเองเจริญก้าวหน้าขึ้นโดยผู้หลักผู้ใหญ่ ไม่อาจขัดขวางมีแต่มอบความเมตตาให้นั่นเอง วิธีการนำกาฝากมาเป็นวัตถุมงคลนั้น ให้ตัดต้นกาฝากพร้อมกิ่งต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยนำมาตากผึ่งลมให้แห้ง เตรียมทอง ผ้าสามสี สีผึ้งหรือน้ำมันจันทน์ พร้อมค่าครูนำไปหาครูอาจารย์ ผู้มีวิชาในการเสกสร้างของขลังจากกาฝาก ให้ลงอักขระเลขยันต์เพื่อบอกกล่าวเทวดาที่สถิตในต้นกาฝากให้รับรู้ ว่าเราคือเจ้าของต้องช่วยเหลือสร้างโชคลาภให้ จากนั้นปิดทองและผูกผ้าสามสีเป็นอันเสร็จพิธี บูชาด้วยธูป 9 ดอก และน้ำแดงเมื่อจะขอพร สำหรับใครที่ต้องการทราบว่าแท้จริงแล้วกาฝากที่ตนเองได้มา มีสรรพคุณเด่นด้านอะไรกันแน่ อย่างแรกให้ดูว่ากาฝากที่นำมาทำเป็นเครื่องรางของขลังนั้นเกิดบนต้นไม้อะไร สมมุติว่าเกิดบนต้นขนุน ก็จะตีความได้ว่ามีคุณเด่นด้านเมตตา มีคนใหญ่คนโตผู้หลักผู้ใหญ่คนเอ็นดูสนับสนุนผลักดันเหมือนกับคำว่า “ขนุน” นั่นเอง และต่อมาให้ดูว่ากาฝากนั้นเป็นกาฝากชนิดอะไร โดยดูที่ใบต้นกาฝากว่าใบเหมือนต้นไม้ชนิดใด […]
Category Archives: มนต์ขลัง
ชาวพุทธในประเทศไทยเรานั้นมีคดิความเชื่อในการสักการะพระพุทธรูปในบ้านเรือนของตนเองในฐานะสิ่งศักดิ์คุ้มครองบ้านเรือนบ้าง ในฐานะอุเทสิกเจดีย์เพื่ออุทิศพระพุทธเจ้าบ้าง ในฐานะพุทธานุสสติให้เกิดสมาธิกรรมฐานบ้าง ไม่ว่าจะเป็นในฐานะไหนก็เป็นประเพณีที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนาน แต่ด้วยผ่านกาลเวลามานานจึงทำให้ขั้นตอนหรือวิธีการในการสักการะบูชาสูญหายหรือผิดเพี้ยนไปบ้าง จึงทำการรวบรวมจากเอกสาร คำบอกเล่าของผู้รู้ต่าง ๆ เป็นเคล็ดลับในการบูชาเพื่อให้ผลความมงคลสูงสุด ดังนี้ 1.จัดวางพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ถูกต้องตามลำดับศักดิ์ตามธรรมเนียมนิยม โดยปกติแล้วผู้คนในสังคมเรามักมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทวรูปอื่นนอกจากพระพุทธรูปอยู่แล้ว และส่วนมากก็มักนำขึ้นหิ้งทั้งหมดเพราะคิดว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน จึงมักจะประสบปัญหาแปลก ๆในบ้านหรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน เพราะวางพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผิดลำดับศักดิ์ ซึ่งอาจทำให้ดวงวิญญาณหรือพลังงานที่สถิตในพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โกรธเคืองได้ เพราะมีคติความเชื่อว่าพระพุทธรูปย่อมมีเทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอยู่ ดังนั้นในหิ้งพระบูชาจึงควรจัดลำดังการวางจากบนสุดล่าง ดังนี้ -พระพุทธรูป -รูปปั้นรูปหล่อหรือรูปเคารพพระสงฆ์หรือเกจิ -เทวรูปหรือรูปเคารพเทพอื่นจากต่างศาสนา เช่น เทพฮินดู เทพจีน พระคริสต์ไม้กางเขน (ถ้ามีพื้นที่จำกัด อาจตั้งรวมกับรูปปั้นรูปหล่อหรือรูปเคารพพระสงฆ์หรือเกจิก็ได้) -รูปปั้นรูปหล่อของพระมหากษัตริย์ -รูปปั้นเทวดา นางกวัก กุมารทอง ผ้ายันต์เครื่องรางของขลังสายขาว เช่น เชือกประกำช้าง คชกุศ ข้องมงคล แคนมงคล ฮู้เทพ ฮู้เซียน ผ้ายันต์ของหมอธรรมพื้นบ้าน -เครื่องรางของขลังสายล่าง เช่น ผ้ายันต์ม้าเสพนาง งั่ง เป๋อ เหรียญปากผี น้ำมันพราย ทั้งนี้สามารถตั้งหิ้งแยกกันได้เช่นกัน โดยแยกเป็นกลุ่มตามลำดับศักดิ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น และหากเป็นรูปเคารพบรรพบุรุษนั้นควรตั้งแยกต่างหาก ไม่ควรตั้งรวมกับหิ้งพระ […]
ศูนย์รวมใจของชาวบ้านจังหวัดสระแก้ว ศรัทธาและนับถือผูกโยงกับประเพณีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมามากกว่า 48 ปี เจ้าพ่อมีนามเดิมว่า “หลวงเดชาศิริ” อดีตเป็นนายด่านรักษาการณ์อยู่ชายแดนเขตนี้ เป็นผู้มีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว เป็นที่เคารพของบุคคลทั่วไป มีสหายคู่ใจ นายเสือกับนายสิงห์ปัจจุบันเจ้าพ่อเสืออยู่ที่แควหนุมาน และเจ้าพ่อสิงห์อยู่จังหวัดจันทบุรี เมื่อมีผู้มาอธิษฐานขอพรแล้วประสบความสำเร็จสมความปรารถนาจึง มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธา มีผู้คนมากราบไหว้และมาแก้บนทุกๆวันไม่ขาดสาย ศาลเจ้าพ่อพระปรงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่ชุมชนลุ่มน้ำอย่างยาวนานตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร หมายเลข 33 สุดเขตอำเภอกบินทร์บุรี องค์ท่านมีอำนาจเด็ดขาด มีผู้คนทุกระดับกราบไหว้สักการบูชา บนบานศาลกล่าว มักจะได้สมความปรารถนา ศาลเดิมตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของถนนสุวรรณศรสายเก่า ปัจจุบันยังมีหลักฐานอยู่ เมื่อปี พ.ศ.2497 หลวงบูรกรรมโกวิท ได้ทำนุบำรุงศาลเก่าขึ้นมา ซึ่งศาลเก่าได้ชำรุดไปแล้ว คงเหลือแต่รูป ติดก้อนศิลายังอยู่ ต่อมามีความเจริญมากขึ้นมีการตัดถนนสุวรรณศร สายใหม่เมื่อ พ.ศ.2513 มีท่านผู้มีจิตศรัทธาจากจังหวัดจันทบุรี ซื้อที่ดินจำนวน 1 งาน เพื่อสร้างศาลทางทิศใต้ถนนสู่วรรณศร ชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนาและจัดงานประเพณีประจำปีเพื่อเป็นการสักการะบูชา ได้เรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาในองค์ท่านมาร่วมงานทุกปี เนื่องจากที่ตั้งศาลเก่ามีบริเวณไม่เพียงพอกับจัดพิธีการดำเนินงานต่าง 1 ซึ่งในอนาคตประชาชนให้ความเคารพ และศรัทธาในองค์เจ้าพ่อพระปรงมากขึ้น คณะกรรมการดำเนินงานจึงได้ประชุมหารือ เพื่อจัดหาสถานที่ก่อสร้างให้เหมาะสมต่อไป และได้รับความกรุณาจากท่านประธานและคณะกรรมการมูลนิธิสัจจะพุทธธรรม (แห่งประเทศไทย ทางอำเอกบินทร์บุรีประกอบพิธีบูชาอัญเชิญท่านโป๊ยเขียนโจวฮือ มาชี้สถานที่ก่อสร้างใหม่ใด้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิพุทธสมาคมพุทธสิหิงค์จังหวัดฮลบรี ได้เรียนแบบกรมศิลป์ในการก่อสร้างอาคารศาลให้สง่างาม ทางกรมโยธาธิการจังหวัดปราจีนบุรีสำรวจพื้นที่ก่อสร้างเพื่อความคงทนถาวร จึงได้ประกอบวางศิลาฤกษ์และได้ดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับการสนับสนุนความร่วมมือจากฝ่ายราชการ […]
“ เขาพนมเพลิง ” ตั้งอยู่ในเขต อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย บนเขาพนมเพลิงเป็นที่ตั้งของ “วัดเขาพนมเพลิง” สร้างมาตั้งแต่ตอนสร้างเมือง “ศรีสัชนาลัย” เขาพนมเพลิงปรากฏในพงศาวดารเหนือตอนที่เกี่ยวกับการสร้างเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) โดยกำหนดให้เขาพนมเพลิงอยู่กลางเมืองและได้สร้างวัดไว้บนเขาพนมเพลิง จากประวัติในพงศาวดารดังกล่าวหมายถึง เคยมีการใช้เขาพนมเพลิงเป็นแหล่งประกอบพิธีบำเพ็ญพรต แล้วจุดอัคคีบูชาเทวะเป็นเจ้า โดยกำหนดให้วัดเขาพนมเพลิงเป็นชัยภูมิของการสร้างเมืองให้โดดเด่นนั่นคือเป็นการสร้างเมืองศรีสัชนาลัยที่โอบล้อมภูเขานี้ไว้ใจกลางเมือง เพื่อให้เป็นชัยภูมิอันเหมาะสมยิ่งในการประกอบพิธีดังกล่าว พระร่วงยืนปางประทานพร เนื้อชินเงิน พิมพ์เล็ก กรุวัดเขาพนมเพลิง องค์ที่นำมาจัดแสดงนี้ ความสูงของพระ สูง 4 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เป็นพระสภาพเดิมๆ องค์นี้คราบปรอทเดิม พุทธคุณความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณเชื่อว่า มีคุณทางเจริญด้วยโชคลาภ มั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทอง ปกป้องคุ้มครองให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขและคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ เป็นพระอีกหนึ่งพิมพ์ในกรุนี้ที่มีความงดงาม มีเส้นสายลายลักษณ์แฝงไปด้วยพลังความเข้มขลัง สมกับความเป็นพระเนื้อชิน เนื้อพระมีปริ ระเบิดบ้างตามธรรมชาติของพระเนื้อชิน มีร่องรอยสนิม และการจับตัวของโลหะที่เป็นมาแต่เดิมในกรุ ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาเก๊ – แท้ พุทธศิลป์สกุลช่างสุโขทัย เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสกุลช่างที่มีความอ่อนช้อย งดงามในการสร้างสรรค์งานศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธปฏิมา พระพิมพ์ พระเครื่องต่างๆ กรุเขาพนมเพลิง เป็นกรุที่ค้นพบพระเครื่องที่มีจำนวนมากพอสมควรกรุหนึ่งในจังหวัดสุโขทัย สนนราคาค่านิยมในปัจจุบันยังพอจับต้องได้ในพระบางพิมพ์ ซึ่งพระกรุนี้คู่ควรแก่การอนุรักษ์สะสมยิ่งนัก Credit : ภาพ ศูนย์พระเมืองศรีสัช
เขาชนไก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นวัดร้างที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระที่แตกกรุออกมามีด้วยกันมากมายหลายพิมพ์ พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของกรุนี้ได้แก่ พระขุนแผน และพระขุนแผนสะกดทัพ พระทั้งหมดทำด้วยเนื้อตะกั่ว สนิมแดงเข้มมาก จัดได้ว่าพระกรุนี้ มีพุทธคุณไม่แพ้พระกรุของเมืองอื่นๆ ของจังหวัดกาญจนบุรีเลยทีเดียว ปริมาณที่แตกกรุออกมามีมากพอสมควรปัจจุบันยังพอมีหมุนเวียนแลกเปลี่ยนในหมู่นักนิยมสะสมและยังหาดูได้ไม่ยากนัก สนนราคาค่านิยมยังพอจับต้องได้ ด้านพุทธคุณนั้นเด่นทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ดังเช่นพระเครื่องแห่งเมืองนักรบทั่วไป Credit : ภาพ เพชร พศิษฐ์
พระพิมพ์มเหศวร ได้ปรากฏหลักฐานว่าขุดพบที่พระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2456 โดยพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม เดิมชื่อนายฮะอี้ หรือ อี้ นามสกุล กรรณสูต เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้สั่งให้มีการเปิดกรุ อย่างเป็นทางการ เพราะปรากฏมีคนร้ายลักลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ อยู่บ่อยครั้งซึ่งได้ พบพระบูชาและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ แม้แต่พระพุทธรูปและเครื่องทองคำก็มีไม่น้อย นอกจากนี้ยังพบแผ่นลานเงิน แผ่นลานทอง ซึ่งได้บันทึกจารหลักฐานไว้เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ในปี พ.ศ.1890 สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 1 ทรงมีศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ได้ทรงอัญเชิญพระมหาเถร – ปิยะทัสสีสารีบุตร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระฤาษีทิวาลัยเป็นประธาน ฝ่ายฤาษี ร่วมกันสร้างพระพุทธปฏิมากร เพื่อเป็นการสืบศาสนา ซึ่งพระยาสุนทรบุรี ยังได้นำพระครื่องส่วนหนึ่งขึ้น ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเก้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประภาสอนุสรณ์ดอนเจดีย์ซึ่งเป็นระยะเวลาเดียวกันนั้น พระพิมพ์มเหศวร เป็นพระเครื่องศิลปะอู่ทอง นับเป็นพระพิมพ์ที่สำคัญและได้รับความนิยมสูงสุด เป็นสุดยอดพระกรุเมืองสุพรรณ หนึ่งในพระชุดเบญจภาคี พระยอดขุนพลเนื้อชิน ยอดเยี่ยมด้านคงกะพันชาตรี “พระมเหศวร” จัดได้ว่าเป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุแห่งนี้ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง เนื้อหามวลสาร พระมเหศวร เป็นพระเนื้อชินเงิน หรือ […]
วัดบันไดหิน ตั้งอยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟลพบุรี ถนนรอบวัดพระธาตุ อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัด ลพบุรี สร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช สิ่งก่อสร้างในวัดมีวิหาร ซึ่งเหลือแต่ผนังเพียงสองด้าน มีประตูหน้าต่างวงโค้งแหลมคล้ายกลีบบัว ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมที่ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้ว มีการขุดพบกรุพระศิลปะ ลพบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อชินเงิน โดยมากเป็นพระหลวงพ่อจุก ฐานเตี้ย – พระนาคปรก, พระแผงตรีกาย สันนิษฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2475 หากกล่าวถึงสุดยอดพระนาคปรกแห่งเมืองลพบุรี ซึ่งบรรดาผู้นิยมสะสมพระเครื่องให้ความสำคัญเป็นเบอร์ต้นๆ 3 อันดับ ทั้งความหายาก พุทธศิลป์ และพุทธคุณ ต้องยกให้ พระนาคปรก กรุวัดปืน ,พระนาคปรกกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ,พระนาคปรก กรุวัดบันไดหิน ที่มีพุทธลักษณะองค์พระค่อนข้างเพรียวชะลูดประทับนั่งบนบัลลังก์นาคฐานสูง ซึ่งหากนำพระนาคปรกทั้ง 3 กรุมาวางเปรียบเทียบกันจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนเลยทีเดียว แม้พุทธศิลป์จะด้อยกว่าพระนาคปรกของสองกรุแรก พระนาคปรกกรุวัดบันไดหิน ขุดพบที่บริเวณวิหารหรืออุโบสถของวัดบันไดหิน ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟลพบุรี ทำให้สันนิษฐานกันว่า แต่เดิมวัดบันไดหินน่าจะ ต้องอยู่ในปริมณฑลเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง พระพิมพ์ที่พบมีมายมากหลายพิมพ์ทรง […]
จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเมืองที่พบกรุพระมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของไทย และพระเครื่องกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี นี้ถือว่าเป็นกรุพระที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศในกรุเดียวกันนี้มีพระเครื่องที่อยู่ในชุดเบญจภาคีถึง 2 ชนิด 2 แบบด้วยกัน คือพระพิมพ์มเหศวร ซึ่งเป็นชุดเบญจภาคีในชุดยอดขุนพลเนื้อชิน และพระผงสุพรรณ ซึ่งเป็นชุดเบญจภาคีในชุดเนื้อดิน ด้านพระพุทธคุณเป็นที่เชื่อถือกันมาแต่โบราณ พระองค์นี้เป็นพระพิมพ์ลีลาอกเล็ก ที่มีศิลปะสวยงาม ในหมวดพระพิมพ์ลีลาอกเล็ก ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เป็นพระเนื้อชินเงิน ดูง่ายตามแบบอย่างพระเนื้อชินเงินของกรุนี้ ธรรมชาติความเป็นพระแท้เบสิคครบถ้วน เพียงขาดความสวยสมบูรณ์ไปนิดเนื่องจากถูกเลี่ยมแบบเปิดหน้า – ใช้มาแต่อดีต สภาพโดยรวมกำลังน่ารักไม่หักไม่ซ่อม มีเพียงการเทไม่ติดที่บริเวณใกล้กับแขนขวาแต่ไม่โดนแขน เป็นมาแต่เดิมในกรุ เป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่น่าใช้มากท่านนอนมาด้วยกันกับ พระผงสุพรรณ และพระมเหศวร เนื้อหาจึงเหมือนกับพระมเหศวร ไม่ผิดเพี้ยนบอกได้ว่าพระทุกพิมพ์ของกรุนี้ มีพุทธคุณเหมือนกันซึ่งเรียกได้ว่าเป็นที่สุดในทุกด้าน นรสิงห์ พันตา
เหรียญโป๊ยข่วย ยันต์แปดทิศ เนื้องาแกะ หายากมากกว่าเนื้อโลหะ เหรียญยันต์แปดทิศหรือโป๊ยข่วย เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดี คุ้มครองอันตราย แก้ไขอุปสรรคด้านการค้า พลิกดวงชาตาจากร้ายให้เป็นดีได้ นำมาพกติดตัวจะช่วยปรับสมดุลให้แก่ร่างกาย (หยิน-หยาง) ซึมซับพลังงานที่ดี ปลดปล่อยพลังงานไม่ดีออกสู่ร่างกาย เน้นส่วนดี แก้ส่วนเสีย ทำให้สุขภาพแข็งแรง และนิยมนำมาแก้ฮวงจุ้ย สรรพคุณเหรียญยันต์แปดทิศมีเยอะ แต่ปัจจุบันจะหาผู้สร้างที่ทำได้ถูกต้องตามตำราให้ขลังแบบคนสมัยก่อนยากมาก เหรียญงาแกะรุ่นนี้เชื่อว่าสร้างที่วัดทิพย์วารี ใกล้ๆวัดเล่งเน่ยยี่ เป็นเหรียญที่หาชมายากมาก ส่วนใหญ่จะตกอยู่ภายใต้การครอบครองของคหบดีย่านสำเพ็ง เหรียญเนื้อเงิน โป๊ยข่วย ยันต์แปดทิศ เป็นเหรียญที่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างกันในระหว่างปี พ.ศ. 2460 ถึง 2470 เศษ Credit : Ajboy PhySciswu
พระร่วงนั่ง เนื้อชินเงิน กรุวัดบรมธาตุกำแพงเพชร ด้านข้างมีรอยสับสิ่วทำให้ดูง่ายสบายตา ฟอร์มพองาม เนื้อพระแข็งแกร่งแต่ดูหนึกนุ่ม คราบกรุเดิมๆยังอยู่ ไม่มีอุดซ่อม พระพิมพ์นี้คนรุ่นเก่าเชื่อถือในพุทธคุณด้านเมตตาค้าขาย จะทำการใดก็ไร้อุปสรรคหรือจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเสมอ ชีวิตเจริญรุ่งเรืองโชคดี Credit : Ajboy PhySciswu