ไม่กี่วันที่ผ่านมาได้เกิดเหตุคนร้ายบุกคร่าชีวิตเด็กและผู้คนเกือบ 50 ชีวิต ที่จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเรื่องที่น่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นใครย่อมรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ดังกล่าวแม้แต่ผู้เขียนเอง ที่ได้ติดตามข่าวความน่าสลดใจดังกล่าวตลอดหลายวันที่ผ่านมา แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าเสียใจไม่แพ้กันคือ “การเผยแพร่ข้อมูลโดยขาดความรับผิดชอบ” ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุใหม่ๆ ผู้เขียนได้รับข้อมูลเหตุการณ์หลังเกิดเหตุประมาณ 40 นาที ซึ่งเป็นโพสต์ข้อความทั่วไปในเฟสบุ๊ก แต่คอมเมนต์ของโพสต์ดังกล่าวได้มีผู้คนมาคอมเมนต์”ภาพผู้เสียชีวิตโดยไม่มีการปกปิดใด ๆ” ขอย้ำว่าไม่มีการปกปิดใด ๆ จากนั้นก็เริ่มมีการนำรูปดังกล่าวไปเผยแพร่ในช่องทางอื่น ๆ อีกมากมาย จนเกิดกระแสให้งดการเผยแพร่ภาพดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรงดกระทำจริง ๆ ลองนึกภาพด้วยความคิดของตนเองดูสิครับ หากในภาพดังกล่าวเป็นคนที่เรารัก แล้วเราเห็นรูปเขาในสภาพที่ไม่ดีปรากฏในที่พื้นที่โซเชียลซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็ไม่ต่างจากการที่ถูกคนอื่นเอารูปดังกล่าวติดในพื้นที่สาธารณะรอบตัวเราให้เราได้เห็นทุกเวลา มันคงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่ากับใครก็ตาม ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นกรณีของบุคคลทั่วไปที่อาจจะไม่รู้อะไร หากตักเตือนกันแล้วไม่กระทำต่อไปก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ที่เป็นปัญหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า คือ “การปฏิบัติงานของสื่อมวลชน” ที่สื่อมวลชนบางสำนักรักษาความเสมอต้นเสมอปลายในการหาข่าวโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้ได้รับผลกระทบจากโศกนาฏกรรม ทั้งที่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ครั้งที่ผ่าน ๆมาก็เคยทำมาแล้ว และครั้งนี้ก็ยังทำเหมือนเช่นเคย มีทั้งการไปสัมภาษณ์ญาติผู้เสียชีวิตหรือพ่อแม่ที่เสียลูกในเหตุการณ์หรือผู้ที่รอดจากเหตุการณ์ครั้งนี้ว่ารู้สึกอย่างไรกับการสูญเสีย ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่สมควรจะทำในช่วงเวลาที่โศกเศร้าเช่นนี้ สื่อมวลชนบางช่องก็ทำวิดีโอจำลองเหตุการณ์การคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ให้ประชาชนดูในช่วงเวลาที่สลดหดหู่อีก แม้ที่ผ่านมากสื่อมวลชนมักจะบอกสังคมอยู่เสมอว่า พวกเราดูแลกันเองได้ แต่เท่าที่สังคมได้รับรู้ก็มีเพียงแถลงการณ์ขอโทษที่มันไม่ได้ช่วยอะไรกับรอรับบทลงโทษจากกสทช.ที่ไม่ได้กระทบกับรายได้ของสถานีเท่าไหร่นัก อีกนานแค่ไหนที่ปัญหาพวกนี้จะได้รับการแก้ไขเสียที สุดท้าย ขอฝากวิธีการดูแลจิตใจเมื่อทราบข่าวหรือเห็นความรุนแรงจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีแนวทางดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้แข็งแรงสดใสอยู่เสมอ จัตุราคม
Category Archives: สืบจากข่าว
ต้นโสน เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่ตามพืชที่แหล่งน้ำ มีคุณสมบัติในการตรึงธาตุไนโตรเจนลงดินจากแบคทีเรียไรโซเบียมที่อยู่ในปมราก ซึ่งไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชที่ช่วยให้พืชมีใบเขียว แตกยอดดี และต้นสูง โดยปกติธาตุนี้จะอยู่ในอากาศเป็นก๊าซชนิดหนึ่ง ซึ่งพืชไม่อาจนำมาใช้ได้ จึงต้องผ่านกระบวนการตรีงลงสู่ดินด้วยแบคทีเรียเสียก่อนหรือถูกทำเป็นรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้เลย เช่น ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะเป็นรูปแบบไอออนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ นอกจากจะมีประโยชน์ด้านการบำรุงดินแล้ว ในวัฒนธรรมการกินของไทยเรา ต้นโสนนั้นจะมีหนอนด้วงชนิดหนึ่งที่อาศัยในต้นโสน แล้วคนสมัยก่อนจะนำหนอนเหล่านั้นมาให้ดูดน้ำกะทิแล้วนำไปทำเป็นอาหาร ซึ่งจะมีรสชาติมันอร่อย นอกจากอาหารคาวแล้วยังมีอาหารหวาน โดยนำดอกโสนมาทำเป็นขนมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า”ขนมดอกโสน” ด้วยการนำดอกโสนมาคลุกกับแป้งข้าวจ้าวและมะพร้าวขูด จากนั้นนำไปนึ่งให้สุก เมื่อสุกแล้วหากจะกินก็นำมาคลุกกับมะพร้าวขูดและน้ำตาล ส่วนอีกตำรับหนึ่ง จะนำดอกโสน น้ำตาลปี๊บและแป้งข้าวจ้าวผสมน้ำ กวนในกระทะจนเหนียวหวาน เมื่อจะกินก็จะปั้นลูกกลม ๆ แล้วคลุกด้วยมะพร้าวขูด แต่อาหารทั้งสองอย่างนี้กลายเป็นสิ่งที่หากินได้ยากในปัจจุบัน เรื่องด้วยการที่ต้นโสนเป็นพืชที่ขึ้นตามแหล่งน้ำ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งที่ขึ้นของต้นโสนก็ถูกนำไปพัฒนาเป็นสิ่งปลูกสร้างเพื่อสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ เพื่อความเจริญและความมั่งคั่งทางการเงินของผู้คนในสังคม แม้แต่แม่น้ำลำคลองที่สมัยก่อนเป็นเส้นทางในการสัญจร แหล่งน้ำดำรงชีพ พื้นที่หาสัตว์น้ำเพื่อดำรงชีพ และเป็นหนึ่งในแหล่งอาศัยของต้นโสนด้วยเช่นกัน ก็กลายเป็นที่ทิ้งน้ำเสียของทั้งโรงงานอุตสาหกรรมและครัวเรือนต่างๆ ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย สัตว์น้ำพืชน้ำล้มตาย หากรอดตายก็ไม่อาจนำมาบริโภคได้เพราะมีกลิ่นและรสชาติที่แย่ ซึ่งรวมถึงดอกโสนที่จะนำมาทำขนมด้วย หากไม่ได้เป็นดอกโสนที่ขึ้นในพื้นที่ที่สะอาด ก็จะไม่มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์และทำให้มีกลิ่นเหม็นเขียว แม้จะไม่ได้ขึ้นในแหล่งน้ำเน่าเสียแต่อยู่ในพื้นที่ที่อากาศเป็นมลพิษจากเชม่าควันหรือสารเคมีต่าง ๆ ก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นเขียวเช่นกัน จะเห็นได้ว่าหากสิ่งแวดล้อมแย่ลง น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ย่อมส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นสิ่งที่สร้างวัฒนธรรมการกินของผู้คนในสังคม หากเรายังไม่ใส่ใจกันอยู่เช่นนี้ […]
กระทิง (𝘉𝘰𝘴 𝘨𝘢𝘶𝘳𝘶𝘴) เป็นสัตว์กีบขนาดใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศทั้งด้านการรักษาระบบนิเวศในพื้นที่และด้านการเป็นชนิดเหยื่อที่สำคัญของสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ (Karanth and Sunquist, 1995; Roininen et al., 2007; Sankar et al., 2013) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 สถานภาพกระทิงทั่วโลกมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) โดยมีจำนวนประชากรทั่วโลกประมาณ 13,000–30,000 ตัว และประชากรของกระทิงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย (Duckworth et al., 2016) ประเทศไทยในอดีตเคยพบกระทิงได้ทั่วไปในทั่วทุกภูมิภาค แต่ปัจจุบันพบอาศัยอยู่ในเฉพาะพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 59 แห่ง โดยกลุ่มป่าที่มีความเหมาะสมต่อการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกระทิงประกอบไปด้วย ● กลุ่มป่าตะวันตก ● กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ● กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก ● กลุ่มป่าแก่งกระจาน ● กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว และ ● กลุ่มป่าตะวันออก (Prayoon et al., 2021) ถึงแม้ว่าสถานภาพประชากรกระทิงมีแนวโน้มฟื้นตัวและเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ แต่ประชากรของกระทิงในประเทศไทยยังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันพื้นที่ป่าอนุรักษ์หลายแห่งมีจำนวนประชากรกระทิงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้า […]
ในสังคมมนุษย์ การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิต เนื่องด้วยในปัจจุบันชีวิตมนุษย์ทุกคนย่อมผูกติดกับเทคโนโลยีและข้อมูลมหาศาลไม่มากก็น้อย แม้จะมีผู้ที่แสดงตนว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือต่อต้านมัน แต่สุดท้ายเขาก็ต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง เพราะมันคือวิถีชีวิตปกติของมนุษย์ในปัจจุบันด้วยความที่เทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ผู้คนต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้มันเพื่อให้สามารถใช้งานได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนนั้นจะสามารถเข้าใจในเทคโนโลยีไปเสียหมดทุกอย่าง ย่อมต้องมีสิ่งที่ไม่รู้เป็นปกติธรรมดา โดยปกติแล้วจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจ แต่ด้วยความที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีปัญญาชั้นสูง จึงทำให้เกิด ”ทิฐิ” ขึ้นมา เพื่อที่จะหลีกหนีความลำบากและความไม่เข้าใจทั้งปวงโดยอ้างเหตุผลนานาในการไม่ยอมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จึงมีหลาย ๆคนที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยีแต่แสร้งว่าเข้าใจ เมื่อมีคนจับผิดได้ก็จะหาเหตุผลข้ออ้างต่าง ๆมากลบเกลื่อนมันไปเสีย ทั้งที่ควรจะแก้ไขมันด้วยการเรียนรู้ ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่ผู้คนยอมที่จะมีทิฐิในการแสร้งว่าเข้าใจมันทั้งที่ไม่ได้เข้าใจมันเสียเลย คือ อุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันผู้คนไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สมาทานตนว่าเป็น ”คนรุ่นใหม่” หรือกลุ่มคนที่ถูกด่าทอจากคนอีกกลุ่มและไล่ให้เป็น ”คนรุ่นเก่า” ก็ย่อมมีบุคคลประเภทนี้อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะแท้จริงการจะเข้าใจอุดมการณ์ทางการเมืองนั้นย่อมต้องใช้เวลาในการศึกษาหาข้อมูลในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา และอื่น ๆอีกมากมายหลายศาสตร์ แล้วทำการวิเคราะห์กลั่นกรององค์ความรู้เหล่านั้นให้ตกผลึกเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ เป็นแก่นที่ผนวกทั้งความรู้และความเชื่อเข้าด้วยกัน จึงจะสามารถยึดเป็นอุดมการณ์ได้ แต่ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่อ่านข้อมูลเพียงผิวเผิน แต่ข้อมูลเหล่านั้นเป็นที่ถูกใจประทับใจเป็นอย่างยิ่ง จึงสมาทานยกย่องมันขึ้นเป็นอุดมการณ์และเชิดชูมันอย่างไม่ลืมหูลืมตา นี่หรือเรียกว่า ”เข้าใจในอุดมการณ์” ซึ่งรู้แก่ใจดีอยู่แล้วว่าไม่ได้เข้าใจ แต่มันถูกใจ แต่จะบอกให้คนทั่วไปรับรู้ว่า ”ตัวข้าไม่รู้อะไรเลย แค่ชอบ แค่ฟินกับคำพูดข้อเขียนเหล่านั้น” ก็คงไม่ได้ […]
วันที่ 29 มิถุนายน “วันบริพัตร” จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
รัสเซีย ปาดเหงื่อนับเงินรายได้ไม่ทัน ส่วนอังกฤษ ติดลบ แต่ยูเครน ใกล้ชนะเสียดินแดนในช่วงที่ฝ่ายระเบียบโลกใหม่ รัสเซียปฏิบัติการทางทหารในยูเครน นั้นฝ่ายระเบียบโลกเก่า
นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.2563 ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนทุกข์ยากแก่ประชาชนคนไทยทั่วทุกแห่งหน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระราชหฤทัยและพระราชทานการสนับสนุนส่งเสริมงานด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด
จีนศึกษา (วันพฤหัสบดีที่ ๙ มิ.ย.๖๕) ขอนำเสนอข้อมูลที่นายพาน กงเซิ่ง รองผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน แถลงข่าวเมื่อวันที่ ๒ มิ.ย.๖๕ เกี่ยวกับการเสริมสร้างแนวทางนโยบาย โดยให้บทบาทอย่างเต็มที่กับตลาด ให้ประโยชน์ที่ทันท่วงทีและแม่นยำต่อกลุ่มผู้มีปัญหา รวมทั้งพื้นที่สำคัญในเวลาที่เหมาะสมและถูกต้อง ตลอดจนช่วยให้ตลาดเศรษฐกิจในวงกว้างมีเสถียรภาพ ประการแรกคือ เน้นที่ผู้เล่นในตลาด ส่งเสริมการดำเนินการตามนโยบายการเลื่อนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครัวเรือนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมส่วนบุคคล เงินให้กู้ยืมสำหรับคนขับรถบรรทุก สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ประการที่สองคือ การมุ่งเน้นไปที่การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ เดินหน้าแนะนำสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของการเติบโตของสินเชื่อโดยรวม และเพิ่มการสนับสนุนสินเชื่อสำหรับพื้นที่สำคัญ เช่น การอนุรักษ์น้ำ การขนส่ง พลังงาน และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ และโครงการหลักผ่านการจัดตั้งกลไกการประสานระหว่างรัฐบาล-ธนาคาร-องค์กร ประการที่สามคือ การมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนทางการเงิน ปรับปรุงการปฏิรูปอัตราที่เสนอของตลาดเงินกู้ (LPR) ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ให้บทบาทกับ LPR รวมทั้งขับเคลื่อนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขององค์กรให้มีเสถียรภาพและอยู่ในระดับปานกลาง ควบคุมดูแลและแนะนำโครงสร้างพื้นฐานของตลาดการเงินเพื่อจัดเรียงรายการเรียกเก็บเงินอย่างครอบคลุม และยกเว้นค่าธรรมเนียมธุรกรรมการจัดหาเงินทุนจากพันธบัตรให้แก่องค์กรเอกชน ประการที่สี่คือ การเน้นประเด็นสำคัญ โดยใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่มีโครงสร้างอย่างเหมาะสมและเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินสำหรับพื้นที่สำคัญๆ เช่น การขนส่งและโลจิสติกส์ ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน นวัตกรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งความมั่นคงของอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน ประการที่ห้าคือ การเน้นถึงการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก รองรับเทคโนโลยีชั้นสูงที่ผ่านการรับรองและองค์กรที่ “เชี่ยวชาญพิเศษและใหม่” เพื่อดำเนินโครงการนำร่องของโควตาการอำนวยความสะดวกหนี้ต่างประเทศ เสริมสร้างผลิตภัณฑ์ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ […]